ข้อคิดก่อนจะชวนเพื่อนหุ้นกันเปิด คลินิกทันตกรรม

Posted on

1.ถ้าไม่ชอบทำงานเป็นทีม อย่าคิดที่จะมีหุ้นส่วน คนเราไม่เหมือนกัน บางคนมีความสุขเวลาทำงานร่วมกับคนหมู่มาก ชอบพบปะผู้คน ชอบทำงานกับคนเยอะๆ แต่บางคน ชอบทำงานกับคนน้อยๆ ไม่ชอบความวุ่นวาย คนยิ่งเยอะ ยิ่งไม่ชอบ และอึดอัดเวลาทำงานร่วมกับผู้อื่น เราต้องรู้สไตล์ตัวตนของเรา ว่าเราเป้นคนยังไง โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นคนกลุ่มที่เรียกว่า Perfectionist คุณจะหุ้นกับคนอื่นยากถ้าไม่สามารถปล่อยวาง 2.เลือกคนที่จะมาหุ้นให้ละเอียดราวกับเลือกคู่ครอง การหุ้นกัน ไม่ใช่เพียงแค่หาคนที่จะมาร่วมแบ่งผลประโยชน์ แต่ต้องนึกถึงวันที่แย่ๆด้วย เช่น ขาดทุน กิจการมีปัญหา ต้องหาคนมาช่วยแก้ไข ในวันที่ทุกอย่างมันดี มันก็ดีอยู่หรอก แต่ในวันที่มันมรสุมรุมเร้า คุณค่าของหุ้นส่วนจะฉายมาเป็นพิเศษ คือ

คุณกล้าอ้าปากให้หุ่นยนต์ทำฟันไหม ?

Posted on

คุณจินตนาการเห็นคลินิกที่ไม่มีคนเลยสักคนเดียวออกไหมครับ ที่พนักงานต้อนรับเป็นหุ่นยนต์ ทั้งผู้ช่วยทันตแพทย์ เคาเตอร์ หรือแม้แต่ทันตแพทย์ที่เป็นหุ่นยนต์ ธุรกิจสาขาอื่นๆ เริ่มมีการเอาหุ่นยนต์มาแทนมากขึ้น ก็น่าคิดเหมือนกันว่าอนาคตอันใกล้นี้เราจะมีคลินิกทันตกรรมที่ทำงานและให้การบริการโดยหุ่นยนต์แทนคนนั้นเป็นไปได้แค่ไหน ? บทความนี้ผมเขียนขึ้นโดยตั้งคำถามว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น AI Digital กับ Robot ต่างๆจะสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนาการบริการต่างๆในคลินิกทันตกรรมได้เพียงใด และแค่ไหน ยุค Disruption ตลาดแรงงานยุคนี้ถือว่าโดน Disruption จากเทคโนโลยีเต็มๆ ไม่ว่าสมองกล (AI) หรือ หุ่นยนต์ (Robot) จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นข่าวบ่อยๆว่าโรงงานติดตั้งหุ่นยนต์มาเพื่อทำงานแทนคน

ถอดหนังสือการตลาดใน 4 นาที อ่านทะลุความคิดด้วยจิตวิทยาแห่งการโกง The (Honest) Truth about Dishonesty : Dan Ariely

Posted on

อ่านทะลุความคิดด้วยจิตวิทยาแห่งการโกง The (Honest) Truth about Dishonesty : Dan Ariely               ก่อนหน้าที่จะอ่านบทความนี้  ทุกท่านรู้อะไรเกี่ยวกับสาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์บ้างครับ   ถ้ายังไม่เคยรู้มาก่อนผมจะนำหนังสือเล่มนี้มาเล่าให้ฟังเอง…  ในแวดวงของเศรษฐาสตร์มีแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ  แบบจำลองการกระทำความผิดตามหลักเหตุผล หรือ SMORC (Simple Model of Rational Crime) ที่บอกเอาไว้ว่า  คนเราจะกระทำความผิดก็ต่อเมื่อได้วิเคราะห์สถานการณ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลแล้ว โดยการคำนวณต้นทุนและผลตอบแทนของการกระทำนั้น