ผมมักได้รับคำถามบ่อยๆว่าอนาคตวงการทันตกรรม โดยเฉพาะในภาคเอกชนจะเป็นอย่างไรในอนาคต ? มันจะอยู่ในทิศทางใด ? หมอฟันจะตกงานไหม ? ถ้าคลินิกล้น ทุกอย่างจะเป็นอย่างไร ? การประกอบอาชีพของทันตแพทย์จะเปลี่ยนไปไหม ? ในความเป็นจริงไม่มีใครรู้อนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ในทางธุรกิจเรามีความพยายามในการทำนายทายทัก คาดการณ์ และจินตนาการภาพของอนาคตที่อาจจะเป็นไปได้บนพื้นฐานของปัจจัยแวดล้อม สิ่งที่เกิดในอดีตและพลวัตต่างๆที่มีอิทธิพล โดยเฉพาะพฤติกรรมของมนุษย์ ผมอยากชวนพวกเรามามองภาพใหญ่ของวงการทันตกรรมเอกชนและความเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมา เพื่อที่จะทำให้เราทราบว่าเรายืนอยู่ตรงไหนในวงการทันตกรรม ณ ขณะนี้ ซึ่งน่าจะพอให้คำตอบได้ในสิ่งที่เราอยากได้คำตอบ แล้วมาลองประเมินว่าอนาคตเราจะไปในทิศทางใดร่วมกัน บทความคลินิกทันตกรรมสามยุคที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ เป็นการบรรยายของผมในเวที “ทางรอดของคลินิกทันตกรรม 2024 และการตลาดพิชิตเงินล้าน” บรรยายในวันที่
กลยุทธ์การตลาด
กลยุทธ์การตลาดสำหรับคลินิกทันตกรรม
ความมั่นใจในการมาใช้บริการของคนไข้ในธุรกิจทันตกรรม ช่วงครึ่งหลังปี 2021 (พฤษภาคม – ธันวาคม 2564)
Posted onความมั่นใจในการมาใช้บริการของคนไข้ในธุรกิจทันตกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2021 (พฤษภาคม – ธันวาคม 2564) คลินิกทันตกรรมหลายแห่งยอดขายตก จำนวนคนไข้ใหม่ลด คนไข้เก่าไม่กลับมาทำฟัน และท่านใดที่กำลังจะเปิดคลินิกจะต้องวางแผนความพร้อมให้รัดกุม บทวิเคราะห์ขนาดย่ออันนี้น่าจะช่วยเป็นแนวทางให้ท่านที่กำลังมีคลินิกและกำลังจะเปิดเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจในสภาวะวิกฤตินี้ ความมั่นใจในเรื่องสุขภาพ/ความปลอดภัยของคนไข้ ตอนนี้คนไข้ทุกคลินิกน้อยลงแน่นอน สังเกตได้ว่าคนไข้ที่กลัวโควิดมากๆ เลือกที่จะเลื่อนนัดออกไป หรือชะลอการรักษาในส่วนนี้เฉลี่ยราว 20-30% ส่วนคนไข้ที่ไม่กลัวโควิดมากนัก และยังมั่นใจในคลินิกและตัวหมอ อาจจะยังมาอยู่ และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่กลัวอะไรเลยอาจจะมาใช้บริการตามเดิม คำถามสำคัญคือ ความมั่นใจของคนไข้จะกลับมาเหมือนเดิมเมื่อไหร่ ? อยากเล่าประสบการณ์ล่าสุดของผมเอง (หมอมด) วันที่ 4 พฤษภาคม 64
คนขี้หวง : การตั้งราคาเซ้งคลินิกทันตกรรม ตั๋วบาสเก็ตบอล และ ผักบุ้งของมิกกี้
Posted onคนขี้หวง : การตั้งราคาเซ้งคลินิกทันตกรรม ตั๋วบาสเก็ตบอล และผักบุ้งของมิกกี้ “คลินิกนี้มีคุณค่าทางใจกับผมมากๆ” เป็นคำพูดของคุณหมอ ที่ตอบแก่นักลงทุนท่านหนึ่ง “ยังไงผมก็ไม่ขาย ….100 ล้านผมก็ไม่ขาย” นักลงทุน อีกฝ่ายที่เป็นผู้เสนอที่จะขอซื้อก็นึกแปลกใจ เพราะเขาตีราคาค่างวดแล้ว ทั้งตกแต่ง เอ๊กเรย์ ยูนิต ทรัพย์สิน มูลค่าไม่มีทางเกิน 6 ล้าน ต่อให้รวมราคาตัวตึกก็ไม่ถึง 15 ล้านแน่ๆ คนเรามีนิสัยแปลกๆที่ขัดกับหลักเศรษฐศาสตร์ เช่น ตีราคาค่างวด หรือให้ Value