การคิดรายได้ของคลินิกทันตกรรม 3 รูปแบบ

Posted on

คำถามยอดฮิตของผู้ที่จะเปิดคลินิกคือ กำไรของคลินิกทันตกรรมประมานเท่าไหร่ ?

และคำนวนยังไง ?

 

การคำนวน “กำไร” ผมจะขอเสนอหลักการง่ายๆ 3 แบบ มีตั้งแต่แบบบ้านๆ แบบ SME หรือรูปแบบบัญชีเต็มรูปแบบ


1.คำนวนกำไร แนว SME

สมการที่ต้องระลึกไว้คือ กำไร = รายรับ-รายจ่าย

การคำนวนแบบนี้ ให้คิดรายรับทุกอย่าง อันได้แก่

ค่าทำฟัน
ค่าบริการ เช่น เอ๊กเรย์
ค่าสินค้า เช่น แปรงสีฟัน

รวมก้อนนี้เป็น “รายรับ” โดยกำหนดวันสิ้นเดือนเป็นวันรวมยอด

อีกส่วนคือ รวบรวมร่ายจ่าย เช่น

ค่า dental fee ( df ) ของหมอมือปืน

และถ้าท่านทำฟันในคลินิกตัวเอง ต้องหักส่วนนี้ด้วย เช่น ถ้าท่านทำยอดเข้าคลินิก 1 แสน แปลว่าต้องหักรายจ่าย (df) ออกไป

ถ้าคลินิกมีการคิดแบบ 50-50 แปลว่า คลินิกมีค่าใช้จ่าย 5 หมื่น เป็นค่าแรงเรา

ส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายหลักของทุกคลินิก จะคิด df เป็น fix rate หรือ percent rate ก็แล้วแต่ท่านจะกำหนด

เพราะฉะนั้น เจ้าของกิจการเวลาทำฟันคุณคือมือปืนนะครับ ต้องคิดเสมอว่าเราคือลูกจ้างหรือพนักงานในกิจการคนหนึ่งเหมือนกัน

ค่าใช้จ่ายอื่นๆได้แก่

เงินเดือนพนักงาน ทั้ง OT โบนัสและเบี้ยต่างๆ
ค่าวัสดุสิ้นเปลือง อาจจะคำนวนยาก ถ้าเอาง่ายก็ตีเป็น % ของรายรับ เช่น 5%

ค่าเช่าที่
ค่าน้ำไฟ
กำจัดขยะ
ค่าพนักงาน part time
ค่าโทรฯ

มีค่าอะไรอีก ท่านต้องใส่ไปให้หมด ยิ่งละเอียดยิ่งดี เพราะมันจะสะท้อนกำไรได้แม่นยำ

การคำนวนวิธีนี้ ท่านต้องมีบัญชี คือต้องรวบรวมบิลไว้

ถ้าไม่ขยันคอยเก็บข้อมูลค่าใช้จ่าย จะไม่มีทางคำนวนได้เลยนะ


2.คำนวนกำไร แนว investor

การคำนวนแบบนี้ เหมือนกันกับข้อ 1 ที่เป็น SME

แต่จะมีค่าใช้จ่ายอีกสองอย่างที่นำมาคำนวนเพิ่ม

คือ “ค่าเสื่อม” และ vat

ค่าเสื่อม คืออะไร ?

มันคือต้นทุนของสิ่งของ ที่ใช้ในธุรกิจ ที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 1 ปี เช่น

ยูนิตทำฟัน
เครื่องเอ๊กเรย์
สิ่งก่อสร้างและตกแต่ง

สมมุติ ยูนิตตัวหนึ่ง มีราคา 5 แสนบาท อายุการใช้งาน (ใช้งานจนกว่าจะเจ๊ง ตามบัญชี) 10 ปี

แปลว่า เรามีค่าใช้จ่ายเป็น fix ปีละ 5 หมื่นบาท

เดือนละ 4166 บาท

การคำนวนแนว investor ในบัญชีรายจ่ายทุกเดือน จะมีค่าเสื่อมร่วมด้วย

รวมถึง vat ด้วย

ทำไมต้องคิดต้นทุนค่าเสื่อม ?

ถ้าเป็นนักลงทุน เขาจะมองส่วนนี้ด้วย กำไรจะต้อง cover ค่าใช้จ่ายต้นทุนและเงินลงทุนในระยะยาว จะไม่ได้เน้นพิจารณาแต่ cash flow หรือสภาพคล่องเหมือนข้อ 1


3.ไม่คำนวนกำไร คิดแต่รายได้

วิธีนี้เป็นการคิดแบบหยาบที่สุด

โดยมองว่าเงินจะอยู่ในตระกร้า ถ้ามีรายรับก็ใส่ไว้ในตระกร้า ถ้ามีรายจ่ายก็หยิบออกไป

สิ้นเดือนมา ส่วนที่เหลือก้นตระกร้า คือ รายได้

เช่น รายรับ 4 แสน

ค่าใช้จ่ายสิ้นเดือนที่ต้องจ่ายออกไป คือ น้ำไฟ พนักงาน มือปืน ค่าเช่า จ่ายทีหยิบออกไปที

เหลือเท่าไหร่ก็เป็นรายรับสิ้นเดือน

การคำนวนแบบนี้ จะไม่ทราบว่ามีกำไรเท่าไหร่ เพราะ DF เราไปปนในนั้น และที่สำคัญไม่รู้ด้วยว่ากำไรหรือเปล่า


ทั้งสามวิธีนี้ ไม่มีผิดไม่มีถูก ท่านจะเลือกคิดแบบไหนก็ได้ แล้วแต่สไตล์ท่าน ทั้งนี้ ใน 3 วิธีนี้ ผมไม่แนะนำให้ใช้แบบที่ 3 เพราะการที่เราไม่เห็นกำไร บางทีเราอาจจะขาดทุน และขาดทุนไม่รู้ตัว เพราะ DF เราอาจจะกลบอยู่

ถ้าคิดจะมีคลินิกแล้ว ต้องฝึกบริหารให้เกิดกำไรนะคับ แหม…อุตส่าห์เหนื่อยลงทุน ไหนจะปวดหัวมานั่งบริหารอีก ถ้าขาดทุนอาจจะต้องคิดดีๆ ว่าคุ้มไหมที่เหนื่อยมาตั้งขนาดนี้

ควรจะสู้ต่อให้มีกำไร ให้สมกับการลงทุน

หรือควรถอย กลับไปเป็นมือปืน ที่ไม่มีความเสี่ยงและไม่มีวันขาดทุน

อ่านถึงตรงนี้แล้ว ผมอยากจะแนะนำท่านที่ยังไม่เคยทำบัญชีแบบจริงจัง อยากให้ฝึกทำนะครับ เอาจริงๆผมเชื่อว่าทุกท่านก็คงทำอยู่แล้ว แต่ในแง่มุมของการดำเนินกิจการมันมีความสำคัญมากๆในการวางแผนรายรับรายจ่ายมันมีประโยชน์มหาศาลและสามารถนำสิ่งนี้มาคิดเวิเคราะห์อะไรๆต่อยอดได้มากมาย

ผมมีสูตร Excel ทำบัญชีเบื้องต้นง่ายๆให้คลินิกท่านที่ยังไม่มีได้ฝึกลองทำดูนะครับ ตาม link —> สูตรบัญชีเบื้องต้นสำหรับคลินิกทันตกรรม

 

 


เผยแพร่ครั้งแรก 6 มิถุนายน 2016

ปรับปรุงใหม่ 27 สิงหาคม 2016

  • Share

0 Comments

Leave a comment

Your email address will not be published.