การทำเพจบนเฟสบุ้คเป็นสิ่งที่ผิดจริยธรรมหรือไม่ มีทันตแพทย์หลายท่านเข้ามาหลังไมค์และส่งคำถามมาว่า สำหรับคลินิกทันตกรรมนั้น มันเหมาะสมจริงๆ หรือ ? ผมเข้าใจว่าหลายท่าน ค่อนข้างกังวลว่าสิ่งที่ตนทำนั้น (การสร้างเพจของคลินิกทันตกรรม) จะหมิ่นเหม่ต่อการกระทำผิดในแง่ของจรรยาบรรณวิชาชีพหรือไม่ ? ก่อนที่จะไปพูดเรื่องเฟสบุ้ค เรามาพูดกันเรื่อง “จรรยาบรรณ” กันสักหน่อย ในแง่การดำเนินธุรกิจคลินิกทันตกรรม ในฐานะทันตแพทย์วิชาชีพ จุดที่ถกเถียงกันมากที่สุดคือ “การโฆษณา” แบบใดถือว่าโฆษณา ? แบบไหนไม่ถือว่าโฆษณา ? ต้องยอมว่าบางกิจกรรมอาจจะเป็นเส้นบางๆที่ข้ามไปมาได้จากการตีความ ทั้งนี้ไม่ว่าอย่างไร จุดมุ่งหมายของระเบียบและข้อบังคับมีเจตนาสำคัญคือ การ “รักษาผลประโยชน์ของคนไข้” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อน
การบริหารจัดการ
แนวคิดและวิธีการในการบริหารคลินิกทันตกรรม อันได้แก่ การบริหารดูแลผู้ช่วยทันตแพทย์ เคาเตอร์หรือเวชระเบียน วัสดุ สินค้า สต๊อก และการจัดการทุกอย่าง
เมื่อลูกค้าด่าบนเพจเฟสบุ้ค (Page for Facebook) คลินิกทันตกรรมควรจะรับมือยังไง
Posted onสำหรับคลินิกทันตกรรมยุคใหม่ผมเชื่อว่าคงมีเพจ (Page) ของคลินิกทันตกรรมบนเฟสบุ้ค (Facebook) กันแทบทั้งสิ้น เพื่อตอบสนองรสนิยมคนสมัยใหม่ที่ใช้ Smartphone ที่นิมกัน จะว่าไปแล้วเพจเฟสบุ้คนี้เหมาะสมธุรกิจ SME มาก เพราะใช้บริการฟรี สะดวก สามารถโต้ตอบแบบ 2 way communication ได้ 24 ชั่วโมง และถ้าจะใช้บริการโฆษณาของ Facebook ads ก็มีตัวเลือกและลูกเล่นที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเทียบกับการตลาดวิธีอื่นๆ ทั้งนี้สำหรับการทำเพจบนเฟสบุ้ค สิ่งหนึ่งที่เจ้าของคลินิกปวดหัว และไม่ค่อยอยากให้เกิดมากที่สุดคือ “มีคน(ลูกค้า-คนไข้)มาโพสด่า” เนื่องด้วยเพจเฟสบุ้ค มีระบบการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าในลักษณะการ
การคิดรายได้ของคลินิกทันตกรรม 3 รูปแบบ
Posted onคำถามยอดฮิตของผู้ที่จะเปิดคลินิกคือ กำไรของคลินิกทันตกรรมประมานเท่าไหร่ ? และคำนวนยังไง ? การคำนวน “กำไร” ผมจะขอเสนอหลักการง่ายๆ 3 แบบ มีตั้งแต่แบบบ้านๆ แบบ SME หรือรูปแบบบัญชีเต็มรูปแบบ 1.คำนวนกำไร แนว SME สมการที่ต้องระลึกไว้คือ กำไร = รายรับ-รายจ่าย การคำนวนแบบนี้ ให้คิดรายรับทุกอย่าง อันได้แก่ ค่าทำฟัน ค่าบริการ เช่น เอ๊กเรย์ ค่าสินค้า