แนวทางการป้องกัน การยักยอกทรัพย์ สำหรับคลินิกทันตกรรม

Posted on

ทุกธุรกิจย่อมมีปัญหาเรื่องเงินทั้งสิ้น โดยเฉพาะปัญหาภายใน การโกงและยักยอกทรัพย์ของพนักงานของเราเอง   ทั้งนี้ เราสามารถสร้างระบบเพื่อการจัดการในส่วนนี้ได้ โดยแยกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ การจัดการด้านบุคคล   1.เลือกคนที่เหมาะสมมาทำงาน    ถ้าพนักงานมีประวัติการลักเล็กขโมยน้อย หรือ มีพฤติกรรมที่คาดว่าอาจจะนำพาให้เขามีโอกาสผันตัวเป็นขโมย (ชอบเล่นการพนัน หนี้สินเยอะ ชอบใช้จ่ายเกินตัว ชอบยืมเงินชาวบ้าน)  ไม่ควรพิจารณารับไว้ทำงานด้านเงินทอง   เอาจริงๆ คนกลุ่มนี้ไม่เหมาะจะเอามาทำงานเลยด้วยซ้ำ เพราะคนที่มีปัญหาเรื่องเงินมากๆ มักจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์ และอาจสร้างความเดือดร้อนให้คนในองค์กรด้วย เช่นการยืมเงิน หรือขโมยของเพื่อนร่วมงาน   2.การรับสมัครงาน จะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน 

ถ้าจัดฟันยังไม่ตาย ก็โดยทำลาย ด้วยการลดราคาของคลินิกทันตกรรมกันเอง

Posted on

จากบทความเก่าของผมหัวข้อ “จัดฟันตายแล้ว”ทั้ง 2 ตอน (ตอนที่ 1 อ่านได้ที่นี่ )  (ตอนที่ 2 อ่านได้ที่นี่) ผมก็ได้แลกเปลี่ยนกับหมอๆหลายท่านที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย   จริงๆแล้ว จัดฟันตายแล้ว หรือเปล่า ?   ท่านที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับบทความ มองว่า Demand ของจัดฟัน (คนไข้ใหม่) นั้นเยอะมากมาย เพราะมีเด็กเกิดใหม่ทุกปี ปีละหลายแสน ซึ่งมากกว่า Supply ของหมอที่มีอยู่มาก จัดฟันจึงไม่น่าจะตายง่ายๆ ซึ่งในแง่มุมนี้ผมเห็นด้วย   ลองดูตาราง

ลูกน้อง (ผู้ช่วยทันตแพทย์) เกี่ยงงาน เพราะอะไร ?

Posted on

หลายท่านที่มีลูกน้องในองค์กร โดยเฉพาะผู้ช่วยทันตแพทย์ มักจะพบปัญหาลูกน้องทำงานได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์   อาทิเช่น การแบ่งงานรับผิดชอบทำความสะอาด มีผู้ช่วยตั้งหลายคนแต่ทำไมทำงานกันไม่เรียบร้อย ทำได้ไม่ดี หรือไปๆมาๆทะเลาะและเกี่ยงงานกัน   ปัญหาการจัดการเรื่องคนเป็นปัญหาที่ผมพบว่ายาก (และอาจจะยากกว่าการทำการตลาดซะอีก)   ในการ “ทำงานเป็นกลุ่ม” จะมีศัพท์คำหนึ่งว่า “แรงงานแฝง” ลองมาดูกันนะครับ     สมมุติมีงานที่จะให้ลูกน้องแบ่งกันไปทำ โดยมีเนื้องานทั้งหมด 100 หน่วย และท่านมีพนักงานทั้งหมด 4 คน ให้แบ่งงานกันรับผิดชอบและช่วยกันทำ ท่านคิดว่าเขาจะแบ่งงานกันอย่างไร ?