หลังจากงานบรรยายที่ผ่านมา ฉลองครบรอบ 1 ปีเพจ/เวปไซด์ ธุรกิจทันตกรรม ผมได้พบว่าคุณหมอทุกท่านมีความตั้งใจในการเปิดคลินิกที่แน่วแน่ทีเดียว และหลายท่านก็ค่อนข้างเครียดกับสถานการณ์ที่มีคู่แข่งมากมาย (แต่ผมมองว่าการมีคู่แข่งก็มีข้อนะดีครับ)
เพราะมันจะผลักดันให้เราเกิดการพัฒนาไปสู่การเป็นคลินิกที่ยอดเยี่ยม ผลประโยชน์ก็ย่อมจะตกอยู่แก่คนไข้ ได้มีโอกาสใช้บริการคลินิกทันตกรรมที่มีคุณภาพ และบริการได้อย่างน่าประทับใจ
เราต้องขอบคุณสวรรค์ที่สร้างคู่แข่งมาให้เราเครียดครับ เพราะถ้าเราไม่มีคู่แข่ง เราก็คงไม่มีเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งๆขึ้น…….ใช่ไหมครับ
กลับมาที่หัวข้อ “จัดฟันตายแล้ว”
สิ่งที่ผมเห็นในช่วงปีที่ผ่านๆมา คลินิกทันตกรรมที่กำลังจะเปิดใหม่ล้วน “เน้น” การบริการทางด้านจัดฟันเป็นหลัก โดยวางแผนว่างานจัดฟันนี่แหละที่จะเป็นตัวทำรายได้หลักให้กับคลินิก
Trend หรือความนิยมเปิดคลินิกลักษณะนี้ได้ดำเนินมาพักใหญ่แล้ว และมีหลายคลินิกที่ประสบความสำเร็จในแง่ของชื่อเสียงและรายได้สูงในเวลาสั้นๆเพราะวัยรุ่นคนไทยนิยมชมชอบจัดฟันมาก ซึ่งที่ผ่านมา Demand (จำนวนคนที่อยากจัดฟัน) มากกว่า Supply (จำนวนคลินิกที่บริการจัดฟัน)
แต่ด้วยระบบการเรียนนอกมหาลัยและคอร์สอบรมการจัดฟันระยะสั้นที่ฝุดขึ้นมากมายและมหาลัยเองก็สามารถผลิตทันตแพทย์จัดฟันได้มากขึ้น ร่วมกับคุณหมอที่ไม่ใช่หมอจัดฟันโดยตรงเองก็อยากจะมี skill ทางด้านนี้ และลงมาฝึกทำจัดฟันหลายฟันคน ทำมีหมอฟันที่สามารถจัดฟันได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
Supply ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีคลินิกที่ให้บริการทางด้านนี้ขยายตัวตาม ผลกระทบที่เห็นเด่นชัดคือราคาของค่าบริการจัดฟันนั้นลดลง อาจจะลดลงเหลือ29000 – 25000 บาททีเดียวในย่านที่มีการแข่งขันสูง สวนทางกับค่ารักษาทางทันตกรรมอย่างอื่นที่ปรับตัวขึ้น เช่นงานรักษารากฟัน ครอบฟัน หรือแม้แต่งานถอนฟัน ขูดหินปูน
ถ้าปัจจุบันทุกคนแห่เปิดคลินิกจัดฟันแบบที่เห็นทุกวันนี้……อนาคตจะเป็นเช่นไร ?
วันนี้ 29000 บาทแล้วพรุ่งนี้จะเหลือ 19000 บาทไหม ?
หรือจะเหลือ 14500 บาท ?
เป็นคำถามที่อยู่ในใจของเจ้าของคลินิกทันตกรรมเปิดใหม่และเปิดมาสักพักแล้วทุกคน
ขอแนะนำคำว่า “ธุรกิจ Low Entrance of Barrier”
คือ การธุรกิจที่คู่แข่งสามารถก้าวขาเข้าสู่วงการง่ายๆ
ยกตัวอย่าง
- ร้านกาแฟ การจะเปิดร้านกาแฟสักร้านนั้นง่าย มีเงิน มีทำเล ก็แทบจะจบแล้ว เพราะสิ่งอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเครื่องชงกาแฟ สูตรกาแฟ วัตถุดิบนั้นหาซื้อง่ายมาก รวมไปถึงการสอนชงกาแฟนั้นสามารถทำได้ในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ต้องขออนุญาติสภาวิชาชีพชงกาแฟ (เพราะไม่มีสภาฯที่ว่า) นี่เป็นหนึ่งเห็นผลที่ร้านกาแฟมีเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างง่าย ใครก็สามารถเป็นเจ้าของร้านกาแฟได้ ชงอร่อยไม่อร่อยนั่นย่อมเป็นอีกเรื่อง แต่จะเห็นได้ว่าใครๆก็สามารถเป็นเจ้าของร้านกาแฟได้อย่างไม่ยากเย็น กำเงินแสนหรือแค่เงินหมื่นก็เปิดได้
- อาชีพช่างถ่ายภาพ มีเงินก็ซื้อกล้องได้แล้ว ส่วนฝีมือการฝึกฝน ก็ฝึกๆไปสักพักก็จะเริ่มเป็น ไหนจะตัวช่วยที่เป็นระบบอัตโนมัติและโปรแกรมตกแต่งรูป เป็นเหตุให้มีช่างถ่ายภาพมือสมัครเล่น “เกลื่อน” เมือง
ธุรกิจใดก็ตามมีลักษณะเป็น Low Entrance Barrier Business จะพบสภาวะที่มีคู่แข่งเยอะเสมอ
ยิ่งถ้ามีกระแสหรือความนิยมเพิ่มมากขึ้น คนจะแห่ลงทุนในธุรกิจนั้นมากยิ่งขึ้น พอมากๆเข้า Profit ย่อมลดลงด้วยสภาวะการแข่งขันที่คอยกดไว้ไม่ให้สามารถปรับราคาได้
ส่วนตัวผมเห็นว่างานจัดฟันอยู่ในกลุ่มงาน Low Entrance Barrier ด้วยเหตุผลหลายๆประการ
- ไม่มีการห้าม หรือ สงวนสิทธิ์งานจัดฟันจากสภาวิชาชีพ ทำให้ทุกคนที่มีใบประกอบฯสามารถให้การรักษาทางด้านจัดฟันได้(ตามความรู้ที่มี)
- การเรียนจัดฟันมีหลายช่องทาง ทั้งในและโดยเฉพาะนอกมหาลัยที่มีหลายเจ้าหลายซุ้ม หลายสำนัก ทั้งไทยและเทศ
- แม้ทันตแพทย์จะเพิ่งจบคณะทันตแพทย์มาสดๆ ก็มักหาช่องทางที่จะเรียนจัดฟันได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง (หลายสำนักยิง ads โฆษณาและมี sale คอยโทรฯขาย) โดยเฉพาะระบบนอกมหาลัยที่รองรับนักเรียนได้เยอะ การเรียนที่ใช้เวลาเรียนแตกต่างกันไปมีน้อยไม่กี่วัน กับมาเป็นปี ๆ
- การจะเปิดคลินิกทันตกรรมสักแห่งนึงใช้เงินทุนมาก แต่ไม่ถึงกับมหาศาล และสามารถประหยัดเงินได้ทุนหลายวิธี เช่น ใช้อุปกรณ์มือสอง ไม่เน้นการตกแต่งที่สวย ผ่อนชำระกับบริษัทขายอุปกรณ์ทันตกรรม และธนาคารก็พร้อมจะให้กู้เนื่องจากทันตแพทย์เป็นอาชีพที่มีเครดิตสูงในมุมมองของเขา
- หมอหลายท่านที่เรียนจัดฟันมาในหลักสูตรที่จบในเวลาสั้นๆ ปีๆหนึ่งจึงผลิตได้เยอะมาก
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีคนไข้ที่ต้องการรับการรักษาจัดฟันอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเคสใหม่ที่ไม่เคยจัดฟันมาก่อนและเคสเก่าที่อยากจัดใหม่ ส่วนตัวผมมองว่าสัดส่วนของ Demand จากฝั่งของคนไข้นั้นยังสูง แต่แนวโน้มของ Supply คือหมอที่จัดฟันนั้นเริ่มจะมีมากขึ้นในอัตราที่เร็วกว่า Demand ซึ่งแสดงออกมาด้วยการแข่งขันด้วยราคาค่าทำฟันที่ลดราคาเรื่อยๆทุกปี (มาหลายปี)
กลับมาที่คำถามหลัก
ถ้าปัจจุบันทุกคนแห่เปิดคลินิกจัดฟันแบบที่เห็นทุกวันนี้……อนาคตจะเป็นเช่นไร ?
ถ้าไม่มีเหตุให้ Demand ของคนไข้เพิ่มมากขึ้น(ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณใด) จะเกิดสภาวะ Supply ล้น และราคาค่าจัดฟันจะถูกลงไปเรื่อยๆ
และถ้า Trend หมอฟันเรียนจัดฟันเปิดคลินิกยังทวีมากขึ้นๆ สภาวะการแข่งขันย่อมทำให้ราคามันลดลงอัตโนมัติ
ผลกระทบจะเกิดขึ้นโดยตรงกับคลินิกที่มีรายรับส่วนใหญ่จากงานจัดฟัน
ถ้าไม่เจอสภาวะเคสน้อยลงก็อาจจะต้องยอมลดราคาเพื่อรักษาอัตราคนไข้ใหม่ไว้ และในปี 2021 จะมีทันตแพทย์จบอีกเหยียบ 1,000 คนต่อปี ถ้า Trend นี้ยังเป็นที่นิยมของหมอฟัน แนวโน้มของค่าจัดฟันย่อมลดลง
จัดฟัน 19,000 บาท มีสิทธิ์ได้เห็นกันเป็นบุญตา
คลินิกที่ไม่ได้รับผลกระทบและฝ่ามรสุมไปได้ ได้แก่
- คลินิกที่มี Brand หรือหมอที่มี Brand มีชื่อเสียงในสายตาของคนไข้
- คลินิกที่ Target ลูกค้ากลุ่มบนที่อยากจ่ายแพง และต้องการอะไรที่มากกว่าการบริการพื้นฐาน
- คลินิกที่สามารถให้บริการจัดฟันที่มีความซับซ้อน เช่นงานผ่าตัดร่วมกับจัดฟัน หรือเทคนิคล้ำสมัยที่ในเมืองไทยยังไม่เริ่ม เป็นต้น
- คลินิกที่ไม่เน้นงานจัดฟันจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะรายได้ส่วนนี้ไม่ใช่รายได้หลักตั้งแต่แรก
- คลินิกที่มีแฟนพันธุ์แท้เหนียวแน่นเพราะมี Value ที่คนไข้จ่ายแล้วรู้สึกคุ้ม
- คลินิกที่มีส่วนผสมของการตลาดและการบริการที่โดนเด่นเหนือคู่แข่ง เช่นฉีกไปสร้าง different อะไรได้ ในบางแง่มุม
สรุป
การต่อสู้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ราคาจัดฟันจะถูกลงเรื่อย ๆ ทั้งนี้เรายังไม่ได้วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่จะทำให้เกิดผลกระทบ เช่น เศรษฐกิจที่แย่ลงทำให้ลดการเข้ามาใช้บริการด้านความสวยความงาม เป็นต้น
ทั้งหมดที่วิเคราะห์ ก็อยู่ในวิสัยทัศน์และมุมมองของเพียงเท่านั้น โดยอ้างอิงกับข้อมูลที่พอจะจับต้องได้
ถ้าท่านใดที่เห็นด้วยก็ควรจะวางแผนหาทางรอดตั้งแต่ตอนนี้ แต่ทั้งนี้อนาคมันเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน อะไรจะเกิดเราหนีมันไม่พ้น แต่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับมันครับ
สวัสดีครับ
หมอมด
ไม่ใช่มือถือนะครับ ราคาถึงจะได้ร่วงเอา ร่วงเอาขนาดนั้น วิเคราะห์แปลกๆ ค่าวัสดุอะไรก้ยังราคาแพงเหมือนเดิม แล้วมันก็ไม่เหมือนกับร้านกาแฟอย่างสิ้นเชิง ต้องเรียนมาเยอะและยากกว่าจะทำได้ เปิดก็ต้นทุนสูงกว่า
ผมไม่คิดว่าวิเคราะห์แปลกอะไรขนาดนั้น ในเมื่อ 15 ปีผ่านมา คลินิกที่บริการจัดฟันทวีคูณขึ้นมาก แต่ราคาค่าจัดฟันที่แต่ละคลินิกตั้งราคากลับไม่สามารถตั้งราคาล้อไปกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นแม้แต่น้อย (กลับลดลงด้วยซ้ำโดยเฉพาะในย่านที่แข่งขันสูงที่มีคลินิกหนาแน่น)
ขอบคุณสำหรับแวะมาแสดงความเห็นและติดตามครับ
เพราะการแข่งขันสูง จำนวนหมอที่รับทำมาก ค่าทำถูกเกินไป ต้นทุนสูง ทำแล้วไม่คุ้มทุน ถึงบอกจัดฟันตายแล้วไง
ไม่เข้าว่า แทนที่คลินิกจะรักษาฐานราคาไว้ทุกคลินิก ไม่ให้ต่ำมาก เพราะอย่างไงคนไข้คนที่อยากทำเขาก็ต้องมาทำอยู่แล้ว แต่กลับเป็นว่าแต่ละคลิกนิกลด แลก แจก แถม มากเกินไปจนทำให้ราคาเสียทั้งระบบ
เห็นด้วยคะ ราคาตกต่ำขึ้นเรื่อย ทุกๆคลินิกเปิดใหม่ มีโปรโมชั่นลดแลก ฟรี มา 3 จ่าย2 หรือฟรีรีเทนเนอร์
ถามว่า…คนไข้ต้องการไหม คนไข้บางคน บอกไม่เคยร้องขอเลยด้วยซ้ำ