5 องค์ประกอบที่ต้องมี ถ้าอยากเพิ่มยอดขาย

Posted on

ผมคิดว่าทุกคลินิกก็อยากจะเพิ่มยอดทั้งนั้น

อุตส่าห์ลงทุนเป็นล้าน ก็คงอยากให้คลินิกขับศักยภาพออกมาให้สูงที่สุด ใช่ไหมครับ

คุยกับเจ้าของคลินิกหลายท่าน ก็คาดหวังที่จะเพิ่มยอดทั้งนั้น ซึ่งส่วนมากก็มักจะถามผมเรื่องแนวทางการตลาดที่จะเพิ่มยอด

การที่คลินิกสามารถบริการลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้นจากเดิม ย่อมแปรผันตรงถึง

รายรับ หรือ ยอดขายที่เพิ่ม

 

จริงๆคำว่าการตลาดมันกว้างกว่าแค่การสร้างลูกค้าใหม่ หรือ การหายอด หลายๆท่านอาจจะให้ความหมายผิดไปหน่อย

กลับมาที่การเพิ่มยอด การมีลูกค้าเพิ่มขึ้นแน่นอนว่าน่าจะเป็นการเพิ่มรายรับโดยตรง

 

แต่มีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยนะครับ มีอีก 4 ปัจจัยที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

 

1.อุปกรณ์การแพทย์

โดยเฉพาะ จำนวนเก้าอี้ทำฟัน   (ยูนิต)

สมมุติคุณอยากมียอดเพิ่มขึ้นเดือนละ 1 ล้าน แต่จำนวนเก้าอี้ทำฟันมีเพียงสองยูนิต และไม่สามารถขยายได้อีก แถมสองยูนิตที่กล่าวมาถูกใช้งานเต็มอัตรากำลัง คือ เช้าจรดเย็น 7 วัน คุณจะเสกยอดขึ้นมาได้อย่างไรถ้าไม่เพิ่มจำนวนเก้าอี้ทำฟัน ?

ถ้าคุณไม่สามารถเพิ่มจำนวนยูนิตตามโจทย์ที่กล่าวมา ก็ย่อมยากที่จะให้บริการลูกค้ามากขึ้น  หนทางเพิ่มยอดจะเหลือแค่การให้บริการที่มีค่ารักษาที่สูงขึ้น เช่น งานรากฟันเทียม หรืองานจัดฟันบางประเภท เป็นต้น หรืออีกแนวทางคือการเพิ่มค่ารักษาพยาบาล

 

2.ทันตแพทย์

สมมุติ คลินิกคุณมีพื้นที่เหลือเฟือ และคุณมีเงินทุนมากพอที่จะติดตั้งยูนิตทำฟันได้ 8 ยูนิต

แต่คุณมีคุณหมอร่วมงานด้วยเพียง 2 คน ก็ย่อมไม่สามารถสร้างยอดเพิ่มขึ้นได้มากมาย

เต็มที่คือให้คุณหมอคุณเล่นเก้าอี้ดนตรี โดดไปมาระหว่างยูนิตมันก็แค่เป็นการช่วยร่นเวลาในการเตรียมและเก็บยูนิต  อาจะเกิดผลเสียในแง่การบริหารและภาพลักษณ์ เพราะคนไข้จะมองว่าคุณทำเร่งๆรีบๆ

แล้วทันตแพทย์ที่มาช่วยงานเขามีเวลาแค่ไหน ? บางทีอาจจะมีเวลาให้น้อยก็ได้ และยังมีปัจจัยเรื่องขีดความสามารถและความเฉพาะทางของคุณหมอ

3.ผู้ช่วยทันตแพทย์

ในยุค 4 hands dentistry หมอฟันจะไม่สามารถทำงานโดยลำพัง (ถ้าทำได้ ก็คงเสียเวลามาก) ผู้ช่วยทันตแพทย์คือคนที่จะต้องอยู่ข้างกาย ยิ่งถ้าเป็นหัตถการที่มีความละเอียดอ่อน เช่น งานผ่าตัด ผู้ช่วยทันตแพทย์จะต้องมีประสบการณ์และความเฉพาะทางด้วยเช่นกัน

ในสถานการณ์ที่คลินิกขาดผู้ช่วย บางครั้งถึงกับจำเป็นจะต้อง Cancle การนัดหมายของคนไข้เลยทีเดียว

4.การรองรับลูกค้าในด้านอื่นๆ

 

สมมุติคุณวางแผนอยากจะให้มีคนไข้เพิ่มขึ้น 30 คนต่อวัน มันแปลว่าคุณจะต้องดูแลลูกค้าเพิ่มขึ้น 30 ด้วยเช่นกัน

ที่จอดรถ เพียงพอไหม

ที่นั่งรอคนไข้

ห้องน้ำ

เจ้าหน้าที่ บริการทั่วถึงหรือไม่

เพราะถ้าขีดความสามารถที่จะรอรับของคุณนั้นเต็มที่แล้ว การมีลูกค้าเพิ่มจะมีแต่ผลเสีย คล้ายกับร้านอาหารที่มีจำนวนโต๊ะแค่ 5 โต๊ะ แต่มีลูกค้ายื่นรอเข้าคิวด้วยความเบื่อหน่ายอีก 12 คิว

 

สรุป

คุณอาจหาลูกค้าเพื่อมาใช้บริการได้มากขึ้น

แต่ถ้าคุณขาดการบริหารจัดการที่จะมารองรับลูกค้าที่เพิ่มเข้ามา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เงินทุนและแรงงานที่อุตส่าห์ลงทุนไปก็คงไร้ประโยชน์

ก่อนที่จะคาดหวังว่าจะเพิ่มยอดขาย เราจำเป็นจะต้องสแกนดูตัวเองว่ามีปัญญารองรับลูกค้าได้สูงสุดเท่าใด เราทำไหวไหม ลูกน้องไหวไหม

อย่ารีบเร่งเพิ่มยอด โดยลืมการบริหารจัดการงานหลังบ้านนะครับ

 

  • Share

0 Comments

Leave a comment

Your email address will not be published.