ความมั่นใจของคนไข้ กับการตัดสินใจใช้บริการทางทันตกรรม

Posted on

ถ้าตั๋วเครื่องบินจาก กรุงเทพ-เชียงใหม่ ราคา 200 บาท แล้วเราจะเดินทางช่วงนั้นพอดี ท่านจะซื้อไหม

เชื่อว่าเกือบทุกคนซื้อแน่นอน

แต่ถ้าก่อนหน้านั้น 1 วัน เพิ่งมีข่าวว่าสายการบินนั้นตกทะเลหายสาบสูญ ท่านจะยังอยากซื้อตั๋ว 200 บาท อยู่ไหม ??                ย่อมเริ่มรู้สึกต่างละ

 

สินค้าและบริการทุกอย่าง “ความมั่นใจ” เป็นองค์ประกอบสำคัญเป็นอันดับต้นๆพอๆกับ ราคาและคุณประโยชน์ ถ้าปราศจากความมั่นใจ จะไม่เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่น

ร้านส้มตำข้างทาง ที่ร้านอยู่ข้างถังขยะเหม็นๆ มีหนูวิ่งเล่น ความมั่นใจว่าอาหารสะอาดหายไปเยอะเลย

ยาแก้ปวดผลิตในประเทศกับยา original เรามักเลือกยานอกเพราะความมั่นใจ โดยไม่คิดจะไปค้น paper เปรียบเทียบก่อน

สินค้าเดียวกันแต่ผลิตคนละที่เช่น จีน กับ ญี่ปุ่น ทุกท่านมีความรู้สึกอะไรเล็กๆไหมเวลาเห็นป้าย made in china (ปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยรู้สึกละ….เกือบทุกอย่างมันผลิตที่จีน)

หมอผ่าตัดใส้ติ่ง ระหว่างหมออายุรกรรมในไทย กับหมอ American board แถมเป็นอาจารย์หมอ ท่านจะฝากการผ่าตัดไว้ที่ใคร ? ถ้าค่าผ่าตัดต่างกันแค่หลักพัน

 

ความมั่นใจเป็น feeling หลายครั้งไม่ได้มีเหตุมีผลประจักษ์ชัด แต่เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกบริการและสินค้า ในทางทันตกรรม ลูกค้า (คนไข้) ก็เลือกทำฟันจากความมั่นใจเช่นกัน เช่น

ถ้าเปิดประตูคลินิกเข้าไป แล้วมีกลิ่นเหม็นของส้วมแตกปนกลิ่นส้มตำปลาร้าที่เคาเตอร์กำลังกินเป็นของว่างยามบ่าย ความมั่นใจในความสะอาดของคลินิก drop ทันที

คนไข้จะทำรากเทียม ยืนคุยกับเคาเตอร์ที่เป็นน้องชาวพม่าที่พยายามอธิบายขั้นตอนการทำรากเทียม ความมั่นใจในการจะเลือกทำจะ drop ทันที แค่พนักงานยังเลือกระดับเด็กเสริฟมาบริการ แล้วรากเทียมที่คุยว่าดีอย่างงั้นดีอย่างงี้จะมั่นใจได้แค่ไหน มันมโนกันไปได้นะ

มาปรึกษาจะผ่าตัดร่วมกับจัดฟัน แต่เจอหมอทำผมเขียวปี๊ด ใส่กางเกงยีนส์ขาดๆ เสื้อยืด ไม่โกนหนวด พูดจากวนๆแถมพูดกับผู้ช่วยด้วยสรรนาม มึง-กู ความเป็นวิชาการและความมั่นใจก็ drop ได้

กำลังจะเปิดประตูเข้าคลินิก แต่นึกขึ้นได้ก็เลยไปอ่านรีวิวใน google พบว่ามีคนด่าร้านนี้เยอะมาก คนไข้ก็เริ่มลังเล จะเสี่ยงเข้าไปใช้บริการหรือหาคลินิกใหม่ที่ไม่โดนด่า ดีกว่าไหม

ไปนอนโรงแรมคืนละไม่กี่พันยังอ่านรีวิวก่อนเลย นับประสาอะไรกับทำฟันตั้งเป็นพันเป็นหมื่น จริงไหม

 

ในส่วนบุคคล หมอฟันสามารถสร้างความมั่นใจให้คนไข้ได้

เช่น

1.การแต่งกายให้ดูเนี๊ยบ ดูให้เหมือนหมอหน่อย

2.พูดจาช้าๆ ชัดๆ สุภาพ (บางคนสามารถพูดไทยปนฝรั่งจะได้ look อีกแบบ) คนไข้จะรู้สึก … อืม หมออธิบายดี

3.ใส่ใจในทุกคำพูดของคนไข้ เช่น เอากระดาษมาจดตามเวลาคนไข้เล่าอาการ มองตาคู่สนทนา (ถ้าเขิลให้มองจมูกแทน) มันดูใส่ใจกว่าประเภท มือกด line เล่นเฟส หรือตามองทีวี ระหว่างคุยกับคนไข้ห้ามทำเด็ดขาด มันดูไม่ให้ความสำคัญ จะ drop ความมั่นใจไปมากๆ จริงๆมีอีกเยอะ แต่เล่าไม่ไหว

4.การพรีเซนต์หรือการอธิบายการรักษาผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ Tablet จะทำให้คนไข้มีความมั่นใจและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ลองไปใช้กันดูนะครับ

โดยเฉพาะหมอฟันเพิ่งจบใหม่ หรือคนที่หน้าอ่อนกว่าวัย กลุ่มนี้คนไข้บางคนลังเลเหมือนกันนะ แต่อย่าลืมว่าความมั่นใจมันสร้างได้ตั้งหลายวิธีทาง อันนี้มันแค่หนึ่งหนทางเท่านั้น

0 Comments

Leave a comment

Your email address will not be published.