12 แนวทางเพื่อไปต่อในปี 2568 สำหรับคลินิกทันตกรรมที่เปิดมาสักพัก

Posted on
ใครกำลังคิดวางแผนอยู่ว่า ….. คลินิกทันตกรรมของเรา…ควรไปในทิศทางไหนดี ? ในวันนี้ และปี 2568 ที่จะถึง….
บทความนี้จะช่วยคุณหมอเจ้าของคลินิกได้แน่นอน ครับ (อย่างน้อยในเบื้องต้น อิอิ)
เนื้อหาในส่วนนี้ คือ บางส่วนที่ผมใช้สอนในหลักสูตร Startup dental clinic  ในบทความนี้ผมย่อส่วนในสิ่งที่สอนในคลาสออกมาเป็นเนื้อหาอ่านง่ายๆในโพสเดียว
ส่วนใครอยากได้คำแนะนำแบบใกล้ชิดในแบบปรึกษาส่วนตัวได้ก็มาลงเรียนได้ครับ รอบล่าสุดคือ 20-21 มกราคม 2568 นี้ ซึ่งผมให้คำปรึกษาใกล้ชิดกับผู้ที่ลองเรียนไปตลอดชีวิต (ก็ไม่ชีวิตคุณหมอก็ชีวิตผมอะครับ อิอิ)
2019.07.01_0008
เริ่มกันเลยนะครับ กับ 12 แนวทางเพื่อไปต่อสำหรับคลินิกทันตกรรมที่เปิดมาสักพัก
(จริงๆ มีมากกว่า 12 นะครับ แต่ผมคัดมาแค่นี้ไม่งั้นจะยาวไป)

1.เพิ่มยอดขาย

Screenshot 2567-12-12 at 10.52.32

สมมุติว่าวันนี้ยอดขายของคลินิกอยู่ที่ 1,000,000 บาทต่อเดือน แล้วก็วางแผนง่ายๆ ครับว่าจะทำอย่างไรให้มียอดขายมากขึ้น โดยอาจจะตั้งเป้าเป็น 1,500,000 บาทต่อเดือน

ซึ่งการเพิ่มยอดขายก็ไม่พ้นการวางแผนการตลาด ควบคู่กับการขยายเพื่อการรองรับลูกค้าที่มากขึ้น
ในบรรดาทุกข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้ ข้อนี้ผมถือว่าง่ายที่สุด

2.เพิ่มบริการที่ไม่มี

what-is-checklist

บริการของคลินิกทันตกรรมมีหลายอย่าง และมักเป็นไปไม่ได้ที่ทุกคลินิกจะเน้นทุกอย่าง โดยมากคลินิกปัจจุบันจะเน้นงานจัดฟัน งานสวยงาม และมีคลินิกเด็กเน้นการทำฟันเด็ก
คุณหมอลองเพิ่มบริการบางอย่างที่เราไม่เคยมีมาก่อน เช่นคุณหมอจัดฟันอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีจัดฟันใส ก็เริ่มเอาบริการนี้มาได้ครับ ถ้าไม่เคยมีวีเนียร์มาก่อน คุณหมอก็เพิ่มบริการนี้ขึ้นมา
หรือถ้ามีแต่ไม่ได้เน้น ก็เริ่มเน้นซะเลยวันนี้โดยเฉพาะบริการที่เป็น trend และ margin สูง
ทั้งนี้การเพิ่มบริการ ก็ควบคู่กับการ เพิ่มความสามารถของตัวคุณหมอเองถ้าคุณหมอเป็นคนทำฟันเองในคลินิก
หรือไม่ก็เราต้องเพิ่มหมอ โดยหมอคนนั้นก็ต้องมีความสามารถในด้านนั้น

3.สร้างระบบ (LEAN & Passive)

Sharing-Ideas-at-Work

หลายคลินิกยังไม่มีระบบที่มีประสิทธิภาพ เราสามารถวิเคราะห์หาจุดอ่อนในคลินิกและสร้างระบบเพื่อปิดจุดอ่อนเหล่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประหยัดเงินมากขึ้น ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ลดความผิดพลาดในงาน หรือลดจำนวนคน
ที่เป็นรูปธรรมที่สุดคือ ถ้าคลินิกของคุณยังเป็นระบบกระดาษโอพีดีอยู่ ก็ควรที่จะเปลี่ยนมาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ในส่วนนี้คุณหมอจะได้ทุกอย่างที่ผมกล่าวข้างต้น
และการงวางระบบคือส่วนสำคัญถ้าคุณหมออยากจะขยายสาขา ฝรั่งบอก no system no growth นะครับ

4.ขยายคลินิก (เพิ่ม capacity)

Screenshot 2567-12-12 at 10.57.22
คลินิกส่วนใหญ่อยู่ในห้องแถว การที่คลินิกจะขยายพื้นที่ให้บริการเพิ่มขึ้น เช่นลงยูนิตบนชั้นสองหรือชั้นสามของคลินิกก็ทำได้ไม่ยากนัก
หรือหลายคลินิกที่มีสองห้องแถวอยู่แล้ว และยังมีที่ว่างที่ยังไม่ได้ขยายก็สามารถรีโนเวทคลินิกแล้วก็ขยายได้
การขยายคลินิกไม่ได้ทำให้เกิดเงิน ถ้าไม่ทำการตลาดควบคู่นะครับ

5.ขยายสาขา (ด้วยเงินทุนตัวเอง)

6230e9244963aa3b684c5ed2_61cb6723e4c8112dbd440616_Location-Based-Services-Example
ส่วนตัวผมมองว่าการขยายสาขาไม่ใช่เรื่องยาก
ช่วงแรกถ้าเราจะขยายสาขาที่หนึ่ง หรือ สอง
ซึ่งถ้าคลินิกแรกคุณหมอเปิดแล้วประสบความสำเร็จดีมีเงินทุนหมุนเวียนที่ดี ก็สามารถต่อยอดด้วยการลงทุนขยายสาขา
การขยายสาขาอาจจะเป็นในละแวกที่ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก หรืออาจจะขยายไปไกลคนละจังหวัดหรือแม้แต่คนละภาค
แต่ถ้าคุณหมอเป็นมือใหม่เพิ่งจะหัดเริ่มขยายสาขา ก็ไม่ควรอยู่ไกลเกินเกินไปเพื่อให้สะดวกต่อการบริหารจัดการ
วันไหนที่คุณหมอเริ่มเชี่ยวชาญจะไปเปิดที่ส่วนไหนของประเทศไทยก็ยาก

6.ขยายสาขา (ด้วยการร่วมทุน)

getty_841676498_2000133320009280271_330896

บางทีการขยายสาขาอาจจะไม่จำเป็นจะต้องใช้เงินเงินทุนของเราเองก็ได้นะ
ในวันที่คลินิกเราเริ่มมีชื่อเสียงและคนรู้จัก ก็อาจจะมีนักลงทุนอยากจะมาร่วมลงทุนกับเรา
แล้วเราก็สามารถนำเม็ดเงินนั้นมาขยายสาขาได้
แต่คุณหมอต้องรับได้ว่าจะมีหุ้นส่วนหรือมีเจ้าของร่วมเพิ่มในธุรกิจของคุณหมอ

7.กลายพันธุ์

1683065381179
การกลายพันธุ์คือการขยายสาขา หรือขยับขยายคลินิกอีกรูปแบบหนึ่งแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองออกไป เช่น จากหนอนเป็นผีเสื้อ
ซึ่งแตกต่างจากการขยายสาขาที่กล่าว มาก่อนที่เป็นการก๊อปปี้
การกลายพันธุ์คือการโมดิฟายด์หรือว่ามีอะไรที่ใหม่
เช่น การรีแบรนด์คลินิกให้หรูขึ้น การเปลี่ยนคลินิกจากคลินิกทันตกรรมเป็นสหคลินิก
หรือแม้แต่สร้างเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ในคลินิก เช่น การสอนจัดฟันหรือสอนรากฟันเทียม ที่เราเริ่มเห็นเยอะขึ้น

8.ทำธุรกิจใหม่บนฐานลูกค้าเดิม

newbusienssblogheader-1200x557

ถ้าคุณหมอเปิดคลินิกมานานแล้วเริ่มมีฐานลูกค้า หลายคนก็อยากจะใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าที่สะสมมายาวนาน
คุณหมอก็อาจจะนึกอยากเปิดคลินิกเสริมความงาม เปิดสปาร้านนวด หรือแม้แต่ร้านกาแฟ และ promote ร้านใหม่นี้ให้กับฐานลูกค้าเก่าของเรา
ซึ่งตามหลักก็น่าจะช่วยทำให้ธุรกิจที่เปิดใหม่นี้เริ่มต้นได้ง่าย คืนทุนไวด้วยต้นทุนของทรัพยากรเก่าที่เราเคยมีของคลินิกทันตกรรม
ทั้งนี้ในเชิงของทฤษฎีฟังดูสวยหรูนะครับ แต่ในทางปฏิบัติมักจะไม่ง่ายอย่างนั้น

9.ทำธุรกิจเดิมบนลูกค้าใหม่

910ff1b7-520a-4fd5-b7f4-daa93e360575

ถ้าการทำธุรกิจใหม่มันยุ่งยากนักก็ทำธุรกิจเดิมก็ได้ครับ ก็เปิดคลินิกทันตกรรมแบบเดิมแหละ
แต่คุณหมอจะเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเท่านั้นเอง
เช่นการโฟกัสคนไข้ต่างชาติ ที่เริ่มมาใช้ชีวิตและอาศัยอยู่ในประเทศไทย หรือแม้แต่การขยายคลินิกไปต่างประเทศ

10.ทำธุรกิจใหม่ไปเลย

Screenshot 2567-12-12 at 11.05.26

ถ้าคุณหมอประสบความสำเร็จกับการบริหารคลินิกและสะสมเงินทองได้จำนวนหนึ่ง บางทีการเลือกไปลงทุนในธุรกิจอื่นก็ไม่เลวนะครับ
คุณหมอหลายคนก็ลงทุนเพิ่มในอสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่ทำธุรกิจอื่นไปเลยที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่นเปิดคาเฟ่ เปิดสวนสัตว์ หรือแม้แต่โรงแรม
ส่วนตัวผมคิดว่าถ้าคุณหมอมีความสามารถที่หลากหลาย ลองแตกออกมาทำอย่างอื่นดูบ้างครับ
อาจจะประสบความสำเร็จมากกว่าทำฟันก็ได้นะครับ
แนะนำว่าถ้าจะทำธุรกิจอะไรใหม่ไม่ควรเล่าให้เพื่อนฟังเยอะนะครับ เพราะเวลาเจ๊งจะได้เงียบๆแล้วหายไปไม่อายใครดี อิอิ

11.ขายหุ้น(บางส่วน) ของคลินิก

can-a-majority-shareholder-sell-the-company
นับจากวันแรกที่เปิดคลินิกเป็นแค่คลินิกเล็กๆ
จนวันนี้ที่คลินิกเริ่มมีหน้ามีตาเป็นที่รู้จักและมีแบรนด์ อาจจะมีคนอยากมาเป็นเจ้าของร่วมกับเรา มาสะกิดขอซื้อหุ้น
คุณหมออาจจะถือโอกาสนี้เปลี่ยนคลินิกเป็นนิติบุคคล และแบ่งขายหุ้นให้กับนักลงทุนที่สนใจอยากจะมาเป็นเจ้าของร่วมกัน จะทำในตลาดหุ้นหรือนอกตลาดหุ้นก็ได้หลักการก็เหมือนกัน คือ การที่เราแบ่งคลินิกออกเป็นหน่วยลงทุนและขายมันออกไป (พี่อ้วน อดิศร ก็มาแนวนี้)
ถ้านักลงทุนมองแล้วเห็นว่าผลตอบแทนดี มีอนาคต คุ้มค่ากับการลงทุน หรือโอกาสอะไรบางอย่าง ก็อาจจะเป็นที่สนใจอยากมาลงทุนกับคุณหมอก็ได้นะครับ
ทั้งนี้ เวลาเขามาขอร่วมลงทุน เขาลงทุนแต่กับคลินิกที่ดูดี มีแบรนด์ เท่านั้นนะครับ อิอิ งานนี้ต้องแต่งหน้าทาปากกันหน่อยครับ

12.ขายคลินิก (ขายทั้งกิจการ)

1652735139838
ข้อนี้จะคล้ายๆกับการขายหุ้นของคลินิกที่เพิ่งพูดมา
แต่เป็นการขายทั้งกิจการไปเลย
ถึงจุดหนึ่งแล้วคุณหมออาจจะไม่ได้อยากบริหารคลินิกต่อและอยากวางมือเพื่อเกษียณ คุณหมอก็สามารถขายกิจการได้นะ (ถ้ามีคนซื้อ)
การขายก็มีตั้งแต่ขายได้กำไรมาก ได้กำไรน้อย ขายขาดทุน หรือ แม้แต่ขายทิ้ง หรือขายซาก มันก็แล้วแต่สภาพของธุรกิจ
และถ้ากิจการที่คุณหมอสร้างไว้มีระบบมีชื่อเสียงมีแบรนด์ และอยู่ในรูปแบบของนิติบุคคล คุณหมออาจจะขายได้เงินก้อนใหญ่และใช้ชีวิตช่วงปลายอย่างมั่นคงแบบไม่ต้องทำงาน
คุณหมอลองดูนะครับ เผื่อจะใช้เป็นแนวคิดสำหรับปี 2568 ที่จะถึง
ส่วนใครสนใจลงเรียน startup dental clinic รุ่นเดือนมกราคม 2568 ที่จะถึง ก็ทักมาได้เลย
สวัสดีครับ และขอให้โชคดีทุกคน
หมอมด
  • Share

0 Comments

Leave a comment

Your email address will not be published.