จากบทความในภาค 1 ผมได้นำเสนอมุมมองถึงภาพการแข่งขันด้านค่ารักษาบริการที่ดุเดือดมากขึ้น (ติดตามบทความเด็มได้ที่ –> http://goo.gl/tjN5mA )
ภาพการแข่งขันจะชัดเจนมากๆในย่านที่มีความนิยมสูง เช่น รอบมหาวิทยาลัย (เช่น รามคำแหง) ใกล้ห้างสรรพสินค้า (เช่น งานวงค์วาน) หรือชุมชนที่หนาแน่นและคาดการณ์กันว่าจะเป็น Center ใหม่เช่น บางใหญ่ ในย่านนี้เจ้าของคลินิกจะมีความกังวลใจทุกครั้งที่มีคลินิกคู่แข่งมาเปิดด้วยการลุ้นว่า คลินิกที่เปิดใหม่จะตั้งราคาสินค้าและบริการไว้เท่าใด ซึ่งเป็นธรรมดาที่ผู้ประกอบการจะไม่ชอบให้คู่แข่งมา “เล่นราคา” ในลักษณะ Price War ในรายการทำฟันต่างๆเท่าที่สังเกต งานจัดฟันจะเป็นรายการที่คลินิกจะ “เล่นราคา” กันมากที่สุดเพราะเป็นบริการที่คนไข้ถามหาเยอะมาก
แต่ ณ ปัจจุบัน โดยรวมผมเชื่อว่าหลายคลินิกยังคงอยู่รอดและปลอดภัยอยู่ (อย่างน้อยก็ในช่วง 3-5 ปีนี้) เพราะ Demand ของคนไข้ที่นิยมการจัดฟันยังมีอยู่มาก อย่างที่เคยกล่าวมา ถ้า Demand ยังมากกว่า Supply ภาพรวมแล้วคลินิกจะยังพอไปต่อได้
แต่ในระยะอีก 5- 10 ปี ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้น ถ้าสังเกตประเทศที่มีสัดส่วนของหมอฟันสูง เช่น ญี่ปุ่น จะพบว่าความนิยมของการเรียนทันตแพทย์นั้นลดลงเพราะหมอฟันล้นประเทศ
ถ้าอัตราการผลิตทันตแพทย์ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ย่อมมีคลินิกทันตกรรมเปิดใหม่เพิ่มมากขึ้นตาม และถ้าเพิ่มถึงจุดที่ไม่สมดุลกับ Demand การขยายตัวของคลินิกจะลดลง เป็นการปรับฐานครั้งใหญ่
ปี 2565 มีการคาดการณ์ว่าจะมีทันตแพทย์จบในประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 1,000 คน ต่างจาก 10 ปีที่แล้ว ที่ผลิตออกมาได้แค่ปีละ 4-500 คนเท่านั้น
ทั้งนี้ในการ “ทำนายอนาคต” ผมว่า 100 คนมันก็จะมี 100 ความเห็น ไม่มีถูกหรือผิด แต่แม่นแค่ไหนก็ต้องคอยดูกัน อาจจะผิดทั้ง 100 เลยก็เป็นได้
ทั้งนี้ในเชิงธุรกิจ การครุ่นคำนึงคิดทำนายอนาคตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ยกตัวอย่างตอนน้ำท่วมปี 54 ในยุคน้ำท่วมกรุงเทพฯ ก่อนที่น้ำจะท่วมนั้น เจ้าของกิจการหลายท่านก็ต่างมีความเห็นแตกต่างกันไปกับอนาคตที่จะเกิด
“ไม่ท่วมง่ายๆหรอก”
“ถึงท่วม ก็แป๊บเดียว ไม่กระทบหรอก”
“ท่วมหนักแน่”
การคาดการณ์ที่ต่างกัน ย่อมนำไปสู่ “การวางแผนรับมือกับอนาคต” ที่แตกต่างกัน
บางคนทะยอยเคลื่อนย้ายเครื่องจักรและของในคลังเพื่อหนีน้ำ ก่อกำแพง และอิฐ
บางคนยังตัดสินใจไม่ถูก รีๆรอๆ คือรอให้เห็นน้ำซึมๆมากับตา แล้วค่อยคิดหาทางหนีทีไล่ (คนประเภทนี้ เป็นพวกไม่เห็นด้วยตาจะไม่เชื่อ)
บางคนมั่นใจว่ายังไงธุรกิจตัวเองรอดแน่ๆ หรือสถานที่ตัวเองพ้นน้ำแน่ๆ
แล้ววันที่น้ำท่วมก็เกิดขึ้นจริงๆ ความเสียหายของธุรกิจและบริการของแต่ละคนล้วนได้รับผลกระทบ แต่หนักเบาเพียงใดขึ้นอยู่กับการรับมือและการคาดการณ์ “ก่อนเกิดเหตุการณ์” บริษัทรถยนต์ระดับโลกก็มีภาพน้ำท่วมรถมิดหลังคาเป็นร้อยๆคันให้เห็น บริษัทที่ยิ่งมีขนาดใหญ่และมีทรัพยากรมหาศาล ถ้าไม่สามารถคาดการณ์และวางแผนได้ดีย่อมเสียหายมหาศาล
ธุรกิจที่สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต ในระยะยาว
นอกจากจะต้องมีความสามารถในการคาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ
ยังต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคิดวางแผนป้องกัน แก้ปัญหา
และเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสได้
(จากหนังสือ The living Company)
แล้วอนาคตคลินิกทันตกรรมละ ?
อนาคตเราทำได้แค่การคาดการณ์ เอาเป็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นจริงๆไว้รอดูกันนะครับ เพราะทุกท่านได้อยู่ในเหตุการณ์ร่วมกันแน่นอน คลินิกที่คิดว่าอนาคตยังคงสดใสและยังปลอดภัย กลุ่มนี้อาจจะเลือกที่จะดำเนินธุรกิจแบบไปเรื่อยๆ สบายๆ ค่อยเป็นค่อยไป
ส่วนท่านที่เห็นภัยพิบัติในอนาคตนั้นผมเชื่อว่าจะเกิดความระแวดระวัง ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันมันจะหนักขึ้นเรื่อยๆ หรืออนาคตนายทุนนอกวงการมาลงทุนทำธุรกิจ ทางออกคือเตรียมรับมือตั้งแต่วันนี้
แต่ในย่านที่มีการแข่งขันต่ำ หรือมีคลินิกทันตกรรมไม่หนาแน่นผมเชื่อว่าคลินิกเหล่านี้ ณ วันนี้จะยังคงอยู่รอดและปลอดภัยอยู่คำว่า “จัดฟันตายแล้ว” จึงยังมาไม่ถึง แตกต่างจากย่านที่มีคลินิกหนาแน่น จะเริ่มเห็นภาพรำไรๆโดยเฉพาะเมื่อมีคลินิกเปิดใหม่มาแขวนป้ายไวนิลลดราคา
ทั้งนี้คลินิกที่จะอยู่รอดในระยะยาว จะต้องมีองค์ประกอบ หรือส่วนผสมของพื้นฐานที่สำคัญ 3 อย่าง อันได้แก่ จรรยาบรรณ การสร้างความพึงพอใจ และการบริหารให้เกิดกำไร (อ่านบทความเต็มได้ที่ —->http://goo.gl/YJgWmO )
และองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือตัวเจ้าของคลินิกหรือผู้ประกอบการว่ามี “วิสัยทัศน์” เช่นไร ซึ่งผมคิดว่านี้คือจุดที่แตกต่างมากที่สุดของคลินิกทันตกรรมแต่ละแห่ง
เป็นสิ่งที่ misslead มาก
อย่างแรกเลย คุณเองก็ไม่ใช่หมอจัดฟัน ไม่ใช่แม้แต่หมอ spec สาขาใดสาขาหนึ่ง ผมพูดในความหมายที่ได้รับ วุติบัตรไม่ใช่ หมอ เทรนแค่ ปีเดียว
2.ข้อมูลตัวเลขต่างๆที่เอามา เอามาจากไหน อย่างไร ข้อมูลทางสถิติมีไหม นี่เป็นอีกสิ่งที่แสดงให้เห็นของการที่คุณไม่ใช่หมอที่ได้รับการเรียนต่ออย่างถูกต้องทำให้ไม่รู้วิธีการประเมินต่างๆเหล่านี้ก่อนเอามาเขียน
3.สิ่งที่คุณเขียนเหมือนจะดีแต่เหมือนเขียนเอามัน และคนที่ไม่รู้จักคุณหรือน้องๆที่ยังไม่เรียนต่อก็คงหลงเชื่อได้ง่าย
4.สิ่งที่เขียนบางอย่างก็เหมือนอวยตัวเอง ซึ่งหลายคนก็ไม่ทราบ
5.เวลาเขียนอะไรที่มีผลต่อสังคมหมู่มาก กรุณา ประเมินให้ดีนะครับ และหากเป็นไปได้ แนะนำให้คุณไปเรียนต่อสาขาใดสาขาหนึ่ง ที่มีการสอบเื่อรับ วุติบัตร จะทำให้คุณเข้าใจอะไรดีกว่านี้
ปล.หากคุณคิดว่าสิ่งที่ผมเขียนมีประโยชน์ก็เก็บไปหากไม่ก็ลบออก ผมพูดเพราะหวังดี หวังว่าจะนำคุณกลับมาสู่สิ่งที่เรียกว่า standard ได้นะครับ
ผมวิเคราะห์ภาพรวมของวงการและธุรกิจคลินิกทันตกรรม การตลาดและการจัดการ
ผมไม่ได้มีบทบาทเชิงวิชาการด้านจัดฟันใดในสังคมและไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้นทันตกรรมจัดฟัน และบทความนี้ไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านวิชาการทางด้านจัดฟันแม้แต่น้อย
ขอบพระคุณที่มาแลกเปลี่ยนความเห็นและติดตามนะครับ
มาตามให้กำลังใจพี่มดแล้วกันครัช
เรียนคุณหมอมดครับ ขอเสนอมุมมองนิดหนึ่งครับ
หากมองว่างานบริการทางทันตกรรมจัดฟันเป็นสินค้า เมื่อมี price war ย่อมส่งผลถึง margin และการย้ายกลุ่มของผู้ใช้บริการได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ค้าแน่นอน แต่ข้อแตกต่างของสินค้า กับบริการทางทันตกรรมมันต่างกันมาก
จัดฟันเหมือนกันเครื่องมือชนิดเดียวกัน แต่ทำโดยหมอคนละคน งานออกมาต่างกัน ดังนั้น สินค้านี้(จัดฟัน) จึงไม่ใช่สินค้าชนิดเดียวกัน เพียงแต่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เฉกเช่น smart phone มีหลายแบบ หลายรุ่น หลายบริษัท และยังแตกต่างกันในเรื่อง การรับประกันและการบริการหลังการขาย
กลุ่มลูกค้า(ผู้ใช้บริการ) ก็แยกออกเป็นหลายกลุ่ม ทั้งตามกำลังซื้อ หรือตามความยากของงาน
ผมอ่านดูเหมือนคุณหมอเขียนให้เตรียมตัว ปรับตัวกับการคาดเดาสถาณะการณ์ ซึ่งก็เป็นเรื่องดี หากแต่มุมมอง ยังอาจรวบรัด จนอาจเข้าใจผิดไปได้ เช่นบริบท ของหมอฟันในญี่ปุ่น ก็ต่างจากไทยมาก อัตราการกระจายตัว ก็ต่างกัน การเรียนการสอนก็ต่างกัน รวมถึง ความร่วมมือใน AEC ผลคอบแทนค่าวิชาชีพในเมืองไทยถือว่าหมอฟันยังมีความได้เปรียบอาชีพอื่นๆ อยู่มาก
เรื่องหมอฟันล้นตลาด นี่เห็นมีการพูดกันสักพพักแล้ว รวมไปถึงการจำกัดการผลิตทันตแพทย์เพิ่ม คือถ้าปริมาณเพิ่ม แต่คุณภาพลดลง อันนี้น่าห่วง แต่ถ้าได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ จะไปกลัวอะไร หมอฟันหนึ่งคนทำคนไข้ได้วันละกี่คนครับ ผลิตมาเถอะครับ อัตราการเพิ่มของประชากรสูงกว่าเยอะ หากทันตแพทย์ล้นจริงๆ ก็ส่งออกได้ อีก แรงงานมีฝีมือ ไม่ยากครับ
เรียนคุณอาคม
ผมเห็นด้วยหลายประเด็น ทั้งนี้อย่างที่เขียนในบทความ การปรับตัวกับการคาดการณ์ให้รับมือ แท้ที่จริงแล้วผมมีมุมมองคือการให้หมอฟันเราหันมามองการพัฒนาการบริการ (คุณภาพ) เพราะสิ่งที่คนไข้เราถามหาไม่ใช่จำนวนหมอแต่เป็นคุณภาพการบริการ (ทั้งนี้ผมตีความคำว่า”การบริการ” นั้นหมายถึงทุกหน่วยบริการ ไม่ใช่แค่หมอฟัน แต่นับตั้งแต่ยามเฝ้ารถถึงคนเช็คบิลเลยทีเดียว)
มหาลัยเอกชนก็ดูมีแนวโน้มมาแรงนะครับ อนาคตน่าจะผลิตได้พอๆกับมหาลัยของรัฐ รัฐเองก็ไม่ใช่ว่าจะเล่นสายเอกชนไม่ได้ถ้ามีโอกาสเปิดภาคพิเศษฯแล้วเก็บค่าเรียนปีละล้านเชื่อว่ามีพ่อแม่หลายคนยอมลงทุน
ขอบพระคุณที่แวะเวียนมาแสดงความเห็นนะครับ ขอบพระคุณที่ติดตาม