คลินิกทันตกรรม ” ต้องใช้ ” โปรแกรมเวชระเบียน : บทสัมภาษณ์ คุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ CEO และนักพัฒนาซอฟแวร์บริษัท 9net

Posted on

คลินิกทันตกรรม “ จำเป็น ” ต้องใช้โปรแกรมเวชระเบียน หรือ ไม่อย่างไร

โปรแกรมที่ว่า มีประโยชน์อะไรขนาดนั้น ?

เป็นรายจ่าย หรือ หนทางเพิ่มรายได้ ?

ทำไมบางคลินิกถึงใช้โปรแกรม  แต่บางคลินิกที่เปิดมาเป็นสิบๆปี ก็อยู่ได้โดยไม่เคยใช้

 

ทีมข่าวธุรกิจทันตกรรม มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์และกรรมการผู้จัดการ บริษัท นายเน็ต จำกัด (ลิ้งค์) ผู้อยู่เบื้องหลังโปรแกรมเวชระเบียน FD (Future Dental Clinic software) และโปรแกรมบริหารจัดการในวงการต่างๆอีกมากมาย เรามารับฟังความคิดเห็น มุมมอง และวิสัยทัศน์ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีต่อวงการทันตกรรมกัน

ทินกร เหล่าเราวิโรจน์

 

ทีมข่าว ธุรกิจทันตกรรม : คลินิกทันตกรรม “ จำเป็น ” ต้องใช้โปรแกรมเวชระเบียน หรือ ไม่อย่างไร

ในมุมของผม ผมใช้คำว่า ” จำเป็น ” เพราะมันสามารถแก้ปัญหาในการบริหารจัดการได้มากมาย ซึ่งระบบการเขียนชาร์ต OPD จะทำไม่ได้

โปรแกรม ทันตกรรม

ทีมข่าว ธุรกิจทันตกรรม : ยกตัวอย่างได้ไหมครับ ว่าแก้ปัญหาที่สำคัญอะไรได้บ้าง

จากการที่ผมทำงานคู่กับคุณหมอหลายๆท่าน ปัญหาอันดับหนึ่ง คือ การทุจริต โปรแกรมจะสามารถตรวจสอบการเงิน การระบุจำนวนเงิน และการยืนยันการชำระโดยไม่มีรั่วไหล

Image result for cheating money

แต่สำหรับปัญหานี้ ถ้าคลินิกคิดว่าลูกน้องไว้ใจได้ หรือคุณหมอเดินออกมาจากห้องฟันมาเก็บเงินเอง ก็อาจจะไม่ต้องใช้โปรแกรม ซึ่งโดยมากในทางปฎิบัติไม่ได้เป็นแบบนั้น

อันดับสอง คือการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบ และเข้าถึงง่ายและได้เร็ว เช่น การค้นหาข้อมูลคนไข้ เดิมทีถ้าเป็นชาร์ต ถ้ามีเยอะๆจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 นาทีในการค้นตู้ หลายครั้งเจ้าหน้าเก็บชาร์ตผิดที่ ก็จะเสียเวลามากขึ้นไปอีก แต่เมื่อใช้โปรแกรม การดึงข้อมูลจะใช้เวลาไม่เกิน 2 วินาที ข้อมูลไม่สูญหาย ครบถ้วน  คุณหมอหลายๆท่านที่ไม่ทราบศักยภาพของโปรแกรมก็จะประทับใจ เพราะหลายท่านคิดไม่ถึงด้วยซ้ำว่ามีแบบนี้

Image result for medical record

การค้นหาชาร์ตเป็นอะไรที่เสียเวลาและผิดพลาดได้ง่าย คุณหมอหลายท่านก็พบปัญหานี้ ตัวอย่างที่คุณหมอแชร์มา คือ คนไข้ที่นัดไว้มาแล้ว คุณหมอรู้ด้วยนะว่าคนไข้ชื่ออะไร วันนี้มาทำอะไร คนไข้ก็มานั่งรอบนเก้าอี้ทำฟันเรียบร้อยแต่คุณหมอยังไม่สามารถเริ่มการรักษาได้ เพราะผู้ช่วยยังหาชาร์ตไม่เจอ

ทีมข่าว ธุรกิจทันตกรรม : แบบนี้ ถ้าคลินิกไม่พบปัญหาใดๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมก็ได้ ใช่ไหม ?

ในความเป็นจริง ไม่มีใครเดินมาหาเราแล้วบอกว่าอยากได้โปรแกรมบริหารจัดการคลินิก แต่เขาอยากได้ solution อยากได้อะไรสักอย่างมาแก้ไขปัญหา แล้วโปรแกรมมันไปตอบโจทย์ตรงนั้น

โปรแกรม เป็นตัวช่วยแก้ปัญหาต่างๆของคุณหมอในการบริหารจัดการคลินิก มันเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา ถ้าคลินิกไม่มีปัญหา ก็ไม่มีความจำเป็น

แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่การบริหารจัดการจะมีประสิทธิภาพสูง โดยปราศจากการใช้โปรแกรมในการช่วยเหลือ และคาดหวังให้การทำงานเกิดความผิดพลาดต่ำ ทำงานได้รวดเร็วและลดภาระจุกจิกต่างๆในการทำงาน

ทีมข่าว ธุรกิจทันตกรรม : คุณหมอหลายท่าน มองว่าโปรแกรมเป็นรายจ่าย และลำบากใจที่จะซื้อโดยเฉพาะช่วงเปิดคลินิกใหม่ๆที่เงินทุนมีจำกัด คุณทินกร มีความเห็นอย่างไร

โปรแกรมเป็นรายจ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นการลงทุนเพื่อหวังให้มีรายได้กลับเข้ามา ผมขอยกตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด คือ การนัดหมายคนไข้

ถ้ามองคลินิกเป็นธุรกิจทันตกรรม คลินิกที่มีการจัดการนัดหมายที่มีระบบและมีประสิทธิภาพ จะสามารถสร้างรายได้ให้คลินิกได้มากกว่าคลินิกที่ไม่มีการบริหารการนัดหมาย รายรับอาจจะต่างกันถึงสองเท่าเลยทีเดียว เพราะลึกๆแล้ว ธุรกิจทันตกรรม ในแง่การจัดการ มันคือการบริหารเวลาและพื้นที่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด คลินิกที่บริหารให้มีคนไข้ต่อเนื่องตลอดทั้งวันในทุกห้องทำฟัน ย่อมมีรายรับมากกว่าคลินิกที่ไม่บริหาร ปล่อยให้คนไข้อยากมาก็มา อย่างคลินิกที่ผมเห็น จริงจังกับการบริหารเวลา จะมีการโทรศัพท์เพื่อ confirm คนไข้ ถ้าคนไข้ที่นัดไว้ขอยกเลิกนัด เคาเตอร์ก็จะมีลิสต์ลูกค้าสำรองที่จะเอามาเสียบได้ทันที ทำให้คุณหมอจะได้ไม่ว่าง สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง

Image result for waiting doctor

อีกตัวอย่าง คือ ในแง่การบริการ โปรแกรมจะมีข้อมูลของคนไข้ทุกอย่าง ทั้งรูปและประวัติการรักษา โรงพยาบาลเอกชนที่เป็นลูกค้าของเรา ผมสังเกตุพนักงานของฝ่ายทันตกรรมทุกคนสามารถทักทายคนไข้ที่มาที่แผนกได้ด้วยชื่อจริงของคนไข้ เพราะพนักงานทุกคนจะทราบว่าวันนี้ใครจะมาใช้บริการ หน้าตาเป็นอย่างไร มาทำฟันกับคุณหมออะไร เคยทำอะไร ทั้งหมดเป็นฐานข้อมูลที่เรียกขึ้นมาดูได้ แบบนี้ก็จะช่วยให้คนไข้ประทับใจแล้วบอกต่อ

ทีมข่าว ธุรกิจทันตกรรม : หลายๆคลินิกก็ยังใช้การจดลงชาร์ต OPD แบบที่ทำๆกันมาเป็นสิบๆปี  แม้ว่าวันนี้จะมีระบบดิจิตัลเข้ามา แต่มันจำเป็นจริงๆ หรือ ?

มันมีความจำเป็นในแง่การบริหารจัดการให้มีประสิทธิ์ภาพยิ่งขึ้นไป ผมสังเกตว่าจำนวนคลินิกที่ใช้โปรแกรมมีแต่จะมีจำนวนมากขึ้น ไม่มีลดลง

ทีมข่าว ธุรกิจทันตกรรม : สำหรับคลินิกที่ไม่เคยใช้โปรแกรมเวชระเบียนมาก่อนเลย จะยุ่งยากมากไหมในการเริ่มต้นใช้งาน

โปรแกรมพวกนี้จะออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สำหรับคนที่ไม่เป็นคอมเลยอาจจะกลัว ผมเคยเจอลูกค้าในงานประชุมวิชาการ เขามาที่บูท บอกว่า ผมกับลูกน้องไม่เป็นคอม แค่เห็นก็กลัวแล้ว สวิตซ์เปิดอยู่ตรงไหนยังไม่รู้เลย คงไม่ได้ใช้ แต่พอผ่านไปปีหนึ่งเขากลับมาเพื่อติดต่อจะซื้อ ผมก็ทักว่า อ่าวแล้วคุณหมอเห็นรอบก่อนว่าใช้คอมฯไม่เป็น คุณหมอบอกว่า ก็ยังไม่เป็นคอมฯหรอก แต่มันมีความจำเป็นจะต้องใช้(โปรแกรม)แล้ว

 

Related image

 

ในมุมมองของผม ถ้าคุณหมอไม่มีความรู้สึกว่าจำเป็นต้องใช้โปรแกรม  ถึงได้โปรแกรมมาฟรี ก็จะวางทิ้งไว้เฉยๆ โปรแกรมและระบบพวกนี้จะมีประโยชน์ถ้าเราเห็นประโยชน์ของมัน ถึงไม่เป็นคอมมาแค่ไหนก็อยากจะฝึกใช้ คล้ายกับสม้าตโฟนที่คนแก่หลายคนอยากฝึกใช้เพื่อจะได้ส่งดอกไม้ผ่าน LINE หาลูกหลานได้ทุกเช้า

โปรแกรมมันจะมี Feature ที่เอามาใช้งานได้มากมาย และแต่ละคนก็เอามาใช้งานแค่บาง function ผมสังเกตว่าลูกค้าที่ซื้ออาจจะไม่ได้ใช้ทุกอย่างที่โปรแกรมทำได้ เพราะอย่างที่กล่าว โปรแกรมมีไว้แก้ปัญหา อะไรคือปัญหาเรา เราก็มุ่งเน้นใช้งานในส่วนนั้น

ทีมข่าว ธุรกิจทันตกรรม : สิ่งนี้จะมาเปลี่ยนแปลงวงการทันตกรรมในแง่การตลาดและการจัดการอย่างไรบ้าง

เมื่อเราใช้โปรแกรม เราจะมีฐานข้อมูลของลูกค้าขนาดใหญ่ และข้อมูลของคลินิกเองที่เราจะนำมาวิเคราะห์ได้ เช่น Trends แนวโน้มต่างๆ ถ้าปราศจากข้อมูล เราจะวิเคราะห์อะไรไม่ได้เลย ผมว่าสำคัญถ้าคลินิกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องแข่งขันกัน

ทีมข่าว ธุรกิจทันตกรรม : ต่างประเทศเขาใช้โปรแกรมกันเยอะไหม

ทินกร เหล่าเราวิโรจน์

ที่รู้โดยตรง คือที่ประเทศไต้หวัน ที่ผมกำลัง Co-Project อยู่กับทางเขา ผมเห็นคลินิกทันตกรรมจะใช้โปรแกรมเพราะมัน Link เข้ากับหน่วยงานรัฐและประกันต่างๆ แต่บ้านเราจะเป็นการใช้เชิงพาณิชย์เสียมากกว่า แต่ประเทศก็จะมีบริบทที่แตกต่างกันไป แต่แนวโน้มคือใช้กันมากขึ้นเรื่อยๆ

ทีมข่าว ธุรกิจทันตกรรม : แล้วเทคโนโลยีใหม่ๆจะเข้ามามีบทบาทในวงการทันตกรรมแค่ไหน เช่น Blockchain E-payment และ cloud computoring

เทคโนโลยีที่เข้ามา มันจะมีช่วงเวลาของมัน อย่าง Blockchain ทางกลุ่มธนาคารกำลังตื่นตัวว่าจะเอามาพัฒนาอะไรได้บ้าง แต่ทันตกรรมอาจจะยังไม่ถึงเวลา

ระบบการชำระเงินออนไลน์ หรือ E-payment  ผมมีโอกาสไปช่วยพัฒนา LINE pay ให้กับ LDC ก็ได้ผลดีในแง่การตลาด แต่การใช้ผ่านทางลูกค้ายังไม่เยอะ ยังไม่ใช่ระดับ Mass แต่ในต่างประเทศเช่นที่จีน ตามเมืองใหญ่ๆ เช่น เซียงไฮ้ E-payment แพร่หลายมากๆ ซื้อของ ขึ้นแท๊กซี่ รถไฟฟ้า หรือแม้แต่ ผักในตลาด ก็สามารถจ่ายผ่านแอปปลิเคชั่นได้หมด

Image result for e payment

บ้านเราการใช้ E-payment ยังไม่เยอะ แต่มีแนวโน้มมากขึ้น จากงานสำรวจและวิจัยของธนาคารกสิกร เชื่อว่าปลายปี 2560 นี้ระบบ E-payment  จะมีธุรกรรมที่ผ่านระบบนี้ราว 20% และอีก 4 ปี จะสูงเกิน 50% เพราะฉะนั้น คลินิกที่ปฎิเสธบัตรเคาดิตและระบบเงินออนไลน์ต่างๆ รายได้อาจจะหายไปครึ่งนึง

Image result for cloud computing

ส่วน Cloud computoring (การเก็บ ประมวล และเรียกใช้ข้อมูลผ่าน server online ) ที่ต่างประเทศเขาใช้กันเต็มรูปแบบมาพักใหญ่แล้ว แต่บ้านเรายังมีข้อจำกัดเรื่องอินเตอร์เน็ตที่ยังไม่เสฐียรเพียงพอ เพราะระบบนี้ต้องใช้อินเตอร์ที่มีประสิทธิ์ภาพ แต่คิดว่าไม่นานก็จะใช้กันเต็มรูปแบบแน่นอน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเวลา

ทีมข่าว ธุรกิจทันตกรรม : แล้วบริษัทมีแผนที่จะพัฒนาตัวโปรแกรมอย่างไรบ้าง

นายเน็ต

บริษัทเรามีก็มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยหลายๆอย่างรอไว้อยู่แล้ว แต่การจะเอาลงพัฒนาในโปรแกรมทันตกรรมจะต้องดูจังหวะเวลาที่เหมาะสม ว่ามันพอดีกับจังหวะที่คุณหมอต้องการจริงๆใช่ไหม ถ้าเราปล่อย Feture ใหม่ แต่ไม่ได้ตรงกับความต้องการของคุณหมอ ก็ย่อมสูญเปล่า เพราะฉะนั้นถ้าถึง timing ที่เหมาะสม แล้วเราจะปล่อย functionใหม่ๆ เช่น ระบบ cloud และการรับข้อมูลบน smartphone แน่นอน

 

ติดต่อบริษัทนายเน็ต

เวปไซด์บริษัท www.9net.co.th

LINE id : www.9net.co.th

Facebook : http://www.facebook.com/clinicSoftware9net/

โทรศัพท์ 02-033-0700 ต่อ 2 (10 คู่สาย)

 

 

  • Share

0 Comments

Leave a comment

Your email address will not be published.