หุ้นกันเปิด คลินิกทันตกรรม ดีหรือไม่ ?

Posted on

ทำไมมีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จ และล้มเหลวจากการร่วมหุ้นเพื่อเปิดคลินิกทันตกรรม


หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 2

ภาค 1 ข้อดี

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 3

1.มีคนช่วยลงเงิน

เงินลงทุนเราแชร์กันได้ โดยไม่ต้องไปกู้ธนาคาร

หลายคนมองประเด็นนี้ ทำให้จากเดินมีปัญญาเปิดได้แค่คลินิกเล็กๆ ก็สามารถขยับ scale ให้ใหญ่ขึ้นได้

แต่ถ้าจะเปิดเพียงเป็นคลินิกชนาดเล็ก ก็อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องหุ้นอะไรกันมากมาย

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 4

2.ช่วยงานกันเฝ้า

หลายคนย่อมมีหลายมือ หลายแรง

คลินิกต้องมีคนเฝ้า การหุ้นกันหลายคนหวังว่า partner ตัวเองจะสามารถหมุนเวียนเสียสละกันเฝ้า และด้วยทุกคนคือเจ้าของ ก็น่าจะมี service และการเอาใจใส่อย่างแน่นอน (ก็ร้านตัวเองนิ)

และน่าจะช่วยลดปัญหาการหาหมอปืนที่หายากและไม่ตรงความต้องการ(ของเรา)

 

 

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 5

3.ได้คนที่มี skill ที่หลากหลายมาช่วยกัน

แต่ละคนอาจจะมี skill ที่หลากหลาย ทำให้รวมพลังและความสามารถ รวมไปถึง connection เช่น ซื้อของได้ถูก เป็นต้น ทำให้เรารู้สึกว่ามีความสามารถและ connection ที่หลากหลาย

 

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 6

4.มี Team ที่พร้อมสู้กับคู่แข่ง

ฟังดูแล้ว ในแง่มุมของการแข่งขัน การมี Team  น่าจะสร้างความเข้มแข็งและข้อได้เปรียบกว่าคลินิกที่มีเจ้าของคนเดียว ทั้งด้านเงิน และบุคลากร   แล้วทำไมหลายที่ไม่ประสบความสำเร็จละ ?


หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 7

ภาค 2 ปัญหา

 

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 8

1.ปัญหาเวลามีกำไร

ยกตัวอย่าง….. ได้กำไรแล้วจะทำยังไง ?

มีเงินไม่ใช่จะไม่มีปัญหานะ เพราะเงินนั้นสามารถเอาไปทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง กิจการที่มีกำไรมักจะมีปัญหาว่าจะเอาเงินมาทำอะไรนี่แหละ

บางคนอยากปันผล เพื่อจะได้ทะยอยได้ทุนคืน แต่บางคนอยากเอาไว้ลงทุนเพิ่ม ความเห็นที่แตกต่างมักนำพาไปสู่ความขัดแย้งอย่างนึกไม่ถึง

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 9

2.อารมณ์เมื่อขาดทุน

ขาดทุนนี่เป็นปัญหาหนัก เพราะต้องช่วยกันควักเงิน บางคนก็งอแงบ่นไม่น่าหุ้นเล

ขาดทุนนี่คือสภาวะที่แย่ที่สุด ลงขันกันคนเป็นล้าน แต่สิ้นเดือนต้องควักเงินมาล้างขาดทุน

จะเปิดคลินิกมาทำไมละ ถ้าต้องมาขาดทุน ??

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 10

3.ทุกคนเสียสละเพื่อคลินิกได้จริงหรือไม่ ?

ในวันที่ไม่มีหมอ หรือหามือปืนไม่ได้ คลินิกขาดคนลงเวร แต่ละตนยอมเฝ้าจริงๆหรือ ? หรือเกี่ยงกัน .?

เพราะถ้าคลินิกไม่สามารถดึงคนไข้ หรือไม่มีคนไข้ที่เยอะพอให้หมอที่มาทำงานรู้สึก “คุ้มค่าคุ้มเวลา” การที่ใครสักคนมาเสียสละเฝ้าย่อมรู้สึกไม่คุ้ม (ในฐานะที่ตัวเองมาเป็นมือปืน)

ยิ่งถ้าหุ้นส่วนคนนั้นเป็น spec ที่เกี่ยงงาน ยิ่งแย่ไปใหญ่

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 11

4.ทำยังไงในกรณีมีหลายความเห็น ?

ทุกอย่างทะเลาะกันได้หมด เอาแค่อยากได้สีคลินิกคนละสีก็ไปไม่เป็นแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าแต่ละคนมีไอเดียบรรเจิด หรือ มีความคิดเป็นของตัวเองที่แข็งกร้าว รับรองได้ว่าจะทะเลาะกันตั้งแต่เลือกสี หรือคิดชื่อคลินิกทีเดียว

 

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 12

5.วันที่จากลา จะทำอย่างไร ?

สมมุติ มีคนอยากถอนหุ้นออก คลินิกมีมาตรการใด .?

คืนได้ในอัตราเดิมที่ลงทุน ? ได้มากขึ้น หรือลดลง ? (จากที่ลงทุนไป) หรือไม่มีมาตรการใดเลย ? ห้ามถอนทุนออก ?

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 13

6.รู้จักหุ้นส่วนคุณแค่ไหน ?

แน่ใจไหมว่าคนที่หุ้นเป็นคนดี ไว้ใจได้จริง ? เคยได้ยินใช่ไหมว่านิสัยจะโผล่ตอนมีผลประโยชน์ร่วมกัน ?

 

 

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 14

มากคนนั้นย่อมมากความ ถ้าไม่เป็น teamwork การรวมตัวจะกลายเป็น”จุดอ่อน”ทันที เรียกว่าเอาพลังมาสู้คนข้างใน แล้วจะเอาอะไรไปสู้กับคนนอก ?   หุ้นกันเพื่อมาทะเลาะหรือเปล่า ?

ยิ่งรวมตัว ยิ่งอ่อนแอ ?  ยิ่งคนเยอะยิ่งแย่ ?

แบบนี้ สู้เปิดเป็นเจ้าของเดียวไม่ดีกว่าหรือ ?

 


หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 15

ภาค 3 การป้องกัรและแก้ไข

หลายคนคงกังวลว่าการหุ้นนี่มีข้อเสียเยอะจริงๆ ทุกอย่างมีทางแก้ครับ และสามารถป้องกันได้

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 16

1.ตีแตกนิสัยของผู้ร่วมหุ้น

 

ไม่ใช่ทุกคนที่จะเหมาะกับการจับมือร่วมหุ้น ต้องพิจารณาค่อนข้างเยอะ ทั้งนิสัย และความสามารถ รวมไปถึงความมุ่งมั่นจริงใจ เอาจริงๆหลักการคล้ายการจะเลือกคู่เพื่อแต่งงาน

ถ้าไม่มั่นใจกับหุ้นส่วน ควรตัดสินใจไม่หุ้นกันเลยจะดีกว่า

บางคนหุ้นกับเพื่อนหมอฟัน เพื่อนรุ่นเดียวกัน เพราะคิดว่ารู้จักและสนิทกันมากพอ  คิดแบบนี้ผมว่าไม่ลึกพอ

เพราะความสัมพันธ์ของเพื่อนที่เรากินดื่มเที่ยว ไม่ใช่ความสัมพันธ์เดียวกับการเป็นเจ้านายลูกน้องหรือคู่ธุรกิจ มีเจ๊งมาเยอะครับ ไอ้ประเภทจับมือทำธุรกิจในวงเหล้า ส่วนนี้คงต้องใช้ sense ในการวิเคราะห์กันเอง เพราะ People skill เป็นเรื่องที่สอนกันยาก แต่ถ้าตีไม่แตก อย่าหุ้นเลย

นิสัยของผู้ร่วมหุ้นผมให้ความสำคัญเป็นอันดับ 1 เสมือนกันติดกระดุมกระดุมเสื้อ

เพราะถ้าติดผิดเม็ด เม็ดต่อๆไปก็ผิดหมด สุดท้ายก็ต้องแกะและติดใหม่ ไม่สามารถแก้ไขระหว่างทางได้

 

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 17

2.ร่างข้อตกลงร่วมกัน ( Agreement )

คำพูดและใจคนมันเปลี่ยนได้ ต่ถ้าจดไว้เป็นสัญญา หรือ ข้อตกลงร่วมกันจะเปลี่ยนไม่ได้

ผมว่าหมอส่วนใหญ่คิดไม่ถึง และละเลยการเขียนสัญญาร่วมกัน  แปลกที่หลายคนมองว่า เป็นเรื่องยุ่งยากและแสดงถึงความไม่ไว้วางใจกัน ตรงกันข้าม การเขียน agreement (ข้อตกลงร่วมกัน) คือการแสดงความซื่อสัตย์ต่อกัน และยืนยันว่าทราบและเคารพกติการที่ตกลงร่วมกัน

ไอ้ประเภท “ไม่ต้องเซนต์อะไรหรอก เราต้องเชื่อใจกัน” สุดท้ายก็เป็นช่องทางให้โกงกัน ผมเชื่อว่ามีหมอฟันหลายคนโดนมาแล้ว

ก็ไอ้คนขี้โกงทั้งหลาย ปากเขามักจะพูดตลอดว่าให้ไว้ใจและเชื่อใจ …. ใช่ไหมครับ แต่เขามักไม่ทำอะไรให้ชัดเจนหรือเป็นรูปธรรม ก็ใช้วาจาหลอกไปเรื่อยๆ ใครเชื่อก็เสร็จ

ในทางจิตวิทยา การที่ใครสักคนอิดออดที่จะเซนต์อะไรแบบนี้ มักจะพบว่าเป็นคนเจ้าเล่ห์ ขี้โกง เป็นคนโลเลไม่มีความแน่นอน ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่มีเหลี่ยม ตรงไปตรงมาและซื่อสัตย์ (Ref : Joe Nawarro)

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 18

3.สร้างกฎ กติกา และวิสัยทัศน์

กฎ กติกา และนโยบายของคลินิกคุณคืออะไร ?

เช่น เน้นเปิดสาขาใหม่ จะนำกำไรเก็บไว้ต่อยอดและลงทุน ?

หรือ ไม่เปิดใหม่ แต่เน้นทำกำไรแล้วปันผล ?และอะไรอีกหลายๆเรื่อง

นโยบาย นี่อาจจะเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับมติที่ประชุม แต่จำเป็นจะต้องมีกรอบเพื่อทุกคนจะได้เข้าใจและเดินไปในทิศทางเดียวกัน

นโยบายขององค์กรเหมือนเข็มทิศที่จะชี้ทางไปหรือจุดหมาย การไม่มีนโยบาลหรือวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน จะทำให้คนในองค์กรงงกับการทำงานได้ง่ายๆ

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 19

4.ร่างโครงสร้างขององค์กร

การบริหารจะต้องชัดเจนในโครงสร้าง ใครคุมอะไร ใครอำนาจในส่วนใด  ไม่ควรจะเพิกเฉยแล้ว “ช่วยๆกันทำงาน” 

การทำงานส่วนที่เป็นปัญหาบ่อยๆคือ “ไม่รู้หน้าที่ตัวเอง” การมีกรอบและอำนาจที่ชัดเจนจะแก้ไขปัญหานี้

หุ้นส่วนเปิดคลินิกทันตกรรม 20

5.มีความรัก และสามัคคี ที่เป็น Teamwork จริงๆ

ทุกหุ้นส่วน…รักคลินิกไหม ? ทุกหุ้นส่วน อยากทุ่มเท เสียสละ และดูแลคลินิกด้วยใจ ด้วยความรัก จริงๆไหม ?

หรือเป็นแค่ธุรกิจ ที่มีไว้ทำเงิน ?  มันต่างกันมากนะครับ

 

จบครับ  ยินดีตอบทุกความเห็นครับ


 

  • Share

0 Comments

Leave a comment

Your email address will not be published.